ประวัติความเป็นมา ของพระพุทธศาสนา และองค์การศาสนา ในประเทศไทย โดยกรมศาสนา

Page 1
ประวัติความเป็นมา ของพระพุทธศาสนา และองค์การศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย ภาคที่ ๓
Page 2
๑ พระพ...
Page 3
๑ พระพุทธศาสนา
Page 4
120 พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
Page 5
121 ความเป็นมาของศาสนาพุทธในประเทศไทย ศาสนาพุทธเกิดขึ้นในชมพูทวีปซึ่งในปัจจุบันเป็นดินแดนของประเทศอินเดีย ประเทศเนปาล ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศปากีสถาน และประเทศบังคลาเทศ แต่หลักฐาน ทางโบราณคดีส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศอินเดีย เช่น สังเวชนียสถาน และพุทธสถานต่าง ๆ ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศไทยหลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่าง ๆ รวม ๙ สายด้วยกัน ในส่วนของประเทศไทยเชื่อกันว่ามีคณะของสมณทูตซึ่งมีพระโสณเถระและ พระอุตตรเถระเป็นหัวหน้าคณะเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกและอาจมีคณะสมณ ทูตชุดอื่น ๆ เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกาลต่อ ๆ มา จึงทำให้คนไทยโดยเฉพาะพระมหา กษัตริย์ไทยยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องคนไทยกับพุทธศาสนา* และพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น ได้ความตามตำนาน พระพุทธเจดีย์ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า คนไทยเรานั้นได้นับถือ พระพุทธศาสนามาก่อนที่จะอพยพมาตั้งประเทศไทยในปัจจุบันนี้แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ พระศรีวิสุทธิโมลี (ประยุทธ ป. ๙ ปัจจุบันเป็นพระพรหมคุณาภรณ์) ได้สรุปไว้ใน คำบรรยายเรื่อง พุทธศาสนากับ การศึกษาในอดีต ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๑๓ ว่าก่อนที่ชนชาติ ไทยจะได้ตั้งอาณาจักร เป็นประเทศไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ซึ่งถือว่าเริ่มแต่การตั้งอาณาจักร สุโขทัยนั้น ชนชาติไทย ในภูมิภาคสุวรรณภูมิ คลุมไปถึงรัฐไทยต่าง ๆ ในดินแดน ตั้งแต่ ทางตอนใต้ของประเทศจีนนั้น ได้รับนับถือพระพุทธศาสนามาแล้ว ทั้งสองนิกาย คือ ยุคแรก ได้รับนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ผ่านทางประเทศจีน สมัยพระเจ้ามิ่งตี่ ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๗ รัชสมัยของขุนหลวงเม้า แห่งอาณาจักรอ้ายลาว ยุคที่สอง แยกออกเป็น ๒ ระยะ ระยะแรก สมัยอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง ราวพุทธศักราช ๑๓๐๐ กษัตริย์แห่ง อาณาจักรศรีวิชัย ผู้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน มีเมืองหลวงอยู่ที่เกาะสุมาตรา ได้แผ่ อำนาจเข้ามาถึงแหลมมลายู ได้ดินแดนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงไปไว้ครอบครอง พระพุทธศาสนานิกายมหายานจึงแผ่เข้ามาในภาคใต้ของประเทศไทย ระยะที่ ๒ กล่าวว่าในสมัยลพบุรี เมื่อขอมเรืองอำนาจแผ่อาณาเขตเข้ามาครอบครอง ประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางทั้งหมด ในราวพุทธศักราช ๑๕๕๐ พระพุทธศาสนาแบบมหายานซึ่งขอมรับมาจากอาณาจักรศรีวิชัยเช่นกัน แต่ว่าเจือด้วยศาสนา พราหมณ์ จึงแผ่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ พร้อมด้วยภาษาสันสกฤต แต่ว่าดินแดนที่ขอมแผ่ อาณาเขตเข้ามานั้น เดิมทีประชาชนพลเมืองก็ได้รับนับถือพระพุทธศาสนาแบบหินยานอยู่แล้ว แต่สมัยที่พระโสณะ และพระอุตตระ ศาสนทูตสายที่ ๒ ใน ๙ สาย ของพระเจ้าอโศกมหาราช นำเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยทราวดี ในพุทธศตวรรษที่ ๓ * ข้อมูลจาก หนังสือประวัติกรมการศาสนาและการศาสนาในประเทศไทย พระพุทธศาสนา
Page 6
122 ยุคที่สาม สมัยพระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรืออโนรธามังช่อ กษัตริย์พม่าแห่งอาณาจักร พุกามแผ่อำนาจเข้ามาในอาณาเขตลานนาและล้านช้าง ราวพุทธศักราช ๑๖๐๐ พระพุทธ ศาสนานิกายหินยานแบบพุกาม จึงได้แผ่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ ครั้งถึงสมัยชนชาติไทยตั้งอาณาจักรสุโขทัย เป็นประเทศชาติไทยอันเป็นปึกแผ่นมั่นคง เมื่อพุทธศักราช ๑๘๐๐ แล้ว เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากลัทธิ มหายานและหินยานแบบเดิม มาเป็นลัทธิหินยานแบบลังกาวงศ์ ซึ่งเรื่องนี้ ตามตำนาน พระพุทธเจดีย์ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ ดังนี้ เมืองสุโขทัยเมื่อก่อนกษัตริย์ไทย ได้ปกครองตั้งเป็นราชธานีของประเทศสยาม เป็นเมืองขึ้นของกษัตริย์ขอม ซึ่งครองเมืองลพบุรีอยู่ช้านาน ชาวเมืองเห็นจะถือพระพุทธ ศาสนาลัทธิมหายาน อย่างเช่นที่ถือกันในเมืองลพบุรี ยังมีพุทธเจดีย์ซึ่งสร้างตามแบบอย่าง เมืองลพบุรีปรากฏหลายแห่ง เช่น ปรางค์สามยอดที่วัดพระพายหลวง อยู่นอกเมืองสุโขทัย (เก่า) ไปทางเหนือแห่ง ๑ ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่เมืองชะเลียง (เมืองสวรรคโลกเก่า ข้างใต้) แห่ง ๑ ปรางค์วัดจุฬามณีข้างใต้เมืองพิษณุโลกแห่ง ๑ แต่เมื่อกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ได้เป็นใหญ่ครองประเทศสยาม ณ เมืองสุโขทัยนั้น ประจวบกับสมัยที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์แพร่หลายในประเทศนี้ พุทธเจดีย์ซึ่งสร้างในสมัยสุโขทัย จึงสร้างตามลัทธิ หินยานอย่างลังกาวงศ์ทั้งนั้น พระพุทธศาสนาในประเทศไทย เริ่มนับถือแบบหินยานลัทธิลังกาวงศ์อย่างจริงจังนั้น ตกอยู่ในรัชสมัยของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๐ เป็นต้นมา กล่าวคือ เมื่อพ่อขุนได้ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ได้ทรงสดับกิตติศัพท์ พระสงฆ์ที่ไปศึกษาที่ประเทศ ลังกา กลับมาสั่งสอนอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีความรอบรู้พระธรรมวินัยและมีวัตรปฏิบัติ น่าเลื่อมใส จึงได้อาราธนาจากเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นมาตั้งสำนักและเผยแพร่คำสอน ณ กรุงสุโขทัย เรียกชื่อ ตามแหล่งที่มาว่า ลังกาวงศ์ พระสงฆ์ในลัทธิลังกาวงศ์ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาราธนาจากเมืองนครศรีธรรมราช มาตั้งสำนักในกรุงสุโขทัยนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้ามาก และโดยที่พระสงฆ์คณะนี้ ชอบความวิเวกจึงโปรดให้อยู่ ณ วัดอรัญญิก นอกเมือง และพระองค์ ได้เสด็จไปนมัสการท่านเป็นประจำทุกวันกลางเดือนและสิ้นเดือน ดังมีความในศิลาจารึกว่า “วันเดือนดับ วันเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือก กระพัดลยาง เทียนย่อมงาทอง ขวาชื่อ รุจาศรี พ่อขุนรามขึ้นขี่ไปนบพระอรัญญิกแล้วกลับมา” เมื่อกล่าวถึงพระพุทธศาสนาแบบหินยานลัทธิลังกาวงศ์ เข้ามาสู่สยามประเทศ ซึ่ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธา โปรดให้ถือเป็นแบบอย่างที่ดีงามและเจริญรุ่งเรือง สืบมาเป็นศาสนาประจำชาติไทยจนถึงทุกวันนี้แล้ว ก็ถือโอกาสกล่าวถึงประวัติของลัทธินี้ ตามที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในตำนานพระพุทธเจดีย์ดังกล่าวไว้ในที่นี้ด้วย ดังนี้ “ลัทธิลังกาวงศ์เกิดขึ้นครั้งพระเจ้าปรักกมพาหุมหาราช ฟื้นพระพุทธศาสนาในลังกา ทวีป ด้วยทำสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นต้น เมื่อราว พ.ศ. ๑๗๐๐ แต่นั้นลัทธิลังกาวงศ์รุ่งเรือง เลื่องลือเกียรติคุณมาถึงประเทศเหล่านี้ มีพระสงฆ์ไทย พม่า มอญ เขมรไปศึกษา และศรัทธา
Page 7
123 บวชเป็นภิกษุลังกาวงศ์ แล้วพาลัทธินั้นมาประดิษฐานในประเทศของตน ดังกล่าวแล้วในที่อื่น ในที่นี้จะแสดงข้อวินิจฉัยในเรื่องลัทธิลังกาวงศ์เพิ่มเติม เพื่อให้เห็นว่า ผิดกับลัทธิอื่นด้วยเหตุ อย่างไร คือ ลัทธิลังกาวงศ์เกิดขึ้นในสมัยเมื่อการถือพระพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมสิ้นแล้ว ยังนับถือกันอยู่แต่ในประเทศอื่น และถือแตกต่างกันเป็นลัทธิมหายานบ้าง เป็นลัทธิหินยานบ้าง มิได้มีการศึกษาติดต่อกับอินเดียเหมือนแต่ก่อน ต่างสั่งสอนกันตามความรู้ความสามารถของ ศาสนาจารย์ในประเทศนั้นๆ ด้วยอาศัยคัมภีร์พระไตรปิฎกอย่าง ๑ กับตำราอาจารย์อย่าง ๑ เป็นหลักของพระศาสนาด้วยกันทุกประเทศ ส่วนพระไตรปิฎกนั้น ชาวธิเบต จีน และญี่ปุ่น ซึ่ง ถือลัทธิมหายาน เอาไปแปลเป็นภาษาของตน ไม่ศึกษาฉบับมคธ หรือสันสกฤตซึ่งเกิดขึ้นใน อินเดีย แต่ประเทศลังกา พม่า มอญ ถือลัทธิหินยาน ยังคงศึกษาพระไตรปิฎกภาษามคธ ฝ่าย ประเทศเขมรถือลัทธิมหายาน แต่ศึกษาพระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต ซึ่งได้มาจากอินเดีย ส่วน ประเทศสยามนี้ (ว่าตามสังเกตโบราณวัตถุมีปรากฏอยู่) อยู่ในระหว่างประเทศมอญกับเขมร เดิมถือลัทธิหินยาน แล้วนับถือลัทธิมหายานไปตามเขมร พระไตรปิฎกที่ศึกษาก็เห็นจะมีใน ประเทศสยาม ทั้งภาษามคธและสันสกฤต แต่พระไตรปิฎกที่มีอยู่ในประเทศพม่า มอญ ไทย เขมร ในสมัยนั้นจะเป็นภาษามคธหรือสันสกฤตก็ตาม คงบกพร่องคลาดเคลื่อนกัน ตาม ธรรมดาของหนังสือซึ่งอาศัยแต่คัดเขียนและยังมีเหตุร้ายกว่านั้น คือเป็นภาษาซึ่งชาวเมืองไม่ เข้าใจ การศึกษาจึงต้องอาศัยตำราอาจารย์ คือคำอธิบายบอกเล่าของครูบาอาจารย์เป็นสำคัญ พระไตรปิฎกในสมัยนั้น เห็นจะมีบริบูรณ์อยู่แต่ในลังกาทวีป เพราะหนังสือพระไตรปิฎกเกิดขึ้น ในเมืองลังกา และพระพุทธโฆษาจารย์ ได้ทำสังคายนาไว้ด้วยอีกชั้นหนึ่ง ดังปรากฏในตำนาน สังคายนา ครั้นพระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราชฟื้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เช่นให้ทำ สังคายนาพระไตรปิฎกแล้ว ทำนุบำรุงพระสงฆ์ให้นิยมเล่าเรียนภาษามคธจนเชี่ยวชาญ อ่าน พระไตรปิฎกได้เองโดยมาก พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้น ก็ย่อมทรงพระธรรมวินัย และรอบรู้พุทธ วจนะพิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ ด้วยประการฉะนี้ ที่พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า เขมร พา กันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปครั้งนั้น คือต้องไปเรียนภาษามคธจนรอบรู้แตกฉานด้วย หาไม่ก็ไม่สามารถอ่านพระไตรปิฎก จนล่วงรู้พระธรรมวินัยโดยลำพังตนเองได้ เพราะฉะนั้นจึง ปรากฏในตำนานว่าออกไปศึกษาอยู่องค์ละหลาย ๆ ปี จนอาจนำความรู้ภาษามคธมาสอนใน ประเทศของตน และการเรียนภาษามคธจึงถือว่าเป็นสำคัญในสังฆมณฑลสืบมาจนตราบเท่าทุก วันนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อันเกิดขึ้น แต่รับลัทธิศาสนาลังกาวงศ์มาคราวนั้น” เมื่อสรุปเรื่องพุทธศาสนากับคนไทย โดยเฉพาะชนเผ่าไทยในสุวรรณภูมิหรือใน สยามประเทศนี้แล้ว ปรากฏว่าคนไทยเรารับนับถือพระพุทธศาสนามาทั้ง ๒ นิกาย คือทั้ง มหายาน และหินยาน ก่อนสมัยสุโขทัยดูจะนับถือปะปนกันทั้ง ๒ นิกาย แถมมีศาสนาพราหมณ์ เข้ามาระคนด้วย ที่เป็นดังนี้ เพราะชนชาติไทยได้ร่วมสังคมกับชนชาติขอม ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ใน ภูมิภาคนี้มาก่อน และแม้สมัยไทยสถาปนาราชอาณาจักรไทยเอกราชขึ้น ณ กรุงสุโขทัยแล้ว ก็ตาม ในยุคต้นๆ ของสมัยนั้นก็ยังมีการนับถือพุทธปะปนกันอยู่ ๒ นิกายเช่นกัน ทั้งนี้รวมทั้ง อาณาจักรลานนาไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรอิสระของไทยตอนเหนืออาณาจักรหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในยุค เดียวกับอาณาจักรสุโขทัย และเป็นพันธมิตรสนิทสนมกับอาณาจักรสุโขทัย ก็มีลักษณะเช่นนั้น
Page 8
124 เหมือนกันดังจะกล่าวรายละเอียดบางประการในตอนต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ดี เรื่องการพระศาสนาในประเทศไทยในสมัยโบราณนั้น บทบาทสำคัญย่อม ขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์ของแต่ละยุคละสมัย ทั้งนี้เพราะการบริหารบ้านเมืองไทยในยุคนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในลักษณะพ่อปกครองลูกในยุคสุโขทัย และทรงอยู่ในพระสมมุติเทพ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรือง เปลี่ยนรูปแบบเป็น ประการใดอย่างใดก็สุดแต่พระมหากษัตริย์จะทรงบรรดาล ให้เป็นไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เนื่องจาก การปกครองของไทย หรือแม้ของชาติอื่นๆในยุคนั้นๆ พระมหากษัตริย์ พ่อบ้าน พ่อเมืองทรง พระราชอำนาจสิทธิราชในการบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีขุนนางผู้ใหญ่เป็นผู้รับ สนองพระราชบัญชา ยังหาได้แบ่งส่วนราชการออกบริหารเป็นส่วนแบบกระทรวง ทบวง กรมตามแบบอย่างในยุคหลังๆนี้ แต่ประการใด แต่ก็เป็นที่น่าประหลาดและน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่พระมหากษัตริย์ หรือพ่อเมือง พ่อขุน ของชนชาติไทย ก็ได้เคยแบ่งส่วนการบริหารบ้านเมืองแบบกระทรวง ทบวง กรม มาแต่ โบราณกาลแล้วเหมือนกัน เรื่องที่ว่านี้ ได้พบหลักฐานในหนังสือประวัติกระทรวงมหาดไทย (ส่วนกลาง) ภาค ๑ และหนังสือเรื่อง การปกครองของไทย ของนายสมพงศ์ เกษมสิน รัฐประ ศาสนศาสตร์บัณฑิต ฉบับพิมพ์ที่ สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช กล่าวว่า ไทยน่านเจ้า ได้มีการจัด รูปการปกครองส่วนกลางออกเป็นส่วนสัดแบบกระทรวงเสนาบดี มาแล้วเหมือนกัน เมื่อเทียบ กับระบบการปกครองในปัจจุบันในรูปกระทรวงแล้ว พอเทียบลงได้โดยแบ่งออก ๙ กระทรวง ดังนี้ ๑. ฮินสอง เทียบได้แก่ กระทรวงมหาดไทย ๒. โม่วสอง ” กระทรวงกลาโหม ๓. ม่านสูง ” กระทรวงการคลัง ๔. ยันสูง ” กระทรวงการต่างประเทศ ๕. หว่อสอง ” กระทรวงพาณิชย์ ๖. ฝัดสอง ” กระทรวงยุติธรรม ๗. ฮิดสอง ” กระทรวงโยธาธิการ ๘. จุ้งสอง ” กระทรวงสำมะโนครัว ๙. ฉื่อสอง ” กระทรวงวังหรือราชประเพณี และการบริหารงานของราชการส่วนกลางมี อภิรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือเสนาบดี ปลัดกระทรวง อธิบดี เจ้ากรม ปกครองบังคับบัญชา รับผิดชอบตามลำดับ อันนี้เป็นเรื่อง เปรียบเทียบกับแบบแผนการปกครองในสมัยปัจจุบัน ส่วนการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือหัวเมืองได้แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็นรูป มณฑลรวม ๑๐ มณฑล คือ ๑. มณฑลหวั่นหน่าม ๒. มณฑลปากหง่าย ๓. มณฑลหม่งแซ่ ๔. มณฑลไต้หว่อ
Page 9
125 ๕. มณฑลปั้นด้าม ๖. มณฑลไต้หลี ๗. มณฑลจุ๊ยแม้ ๘. มณฑลหม่งฉิน ๙. มณฑลเผ่งชุ้น ๑๐. มณฑลจิ้วชุน แต่ละมณฑลมีเมืองเอก โท ตรี และจัตวา มีหัวหน้าปกครองลดหลั่นกันไป ได้แก่ เจ้าหัวเมืองเอก เรียกว่า หยินจัง เจ้าหัวเมืองโท ” สิ้นยุย เจ้าหัวเมืองตรี ” ตามเหย่า เจ้าหัวเมืองจัตวา ” โม้วไฝ แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นแขวง มีนายอำเภอเรียกว่า โต้วตุ๊ก เป็นหัวหน้า รองจากแขวง เป็นแคว้น มีกำนันเรียกว่า จี้หยันกุน เป็นหัวหน้า จากแคว้นเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเรียกว่า จ๋งจ๋อ เป็นหัวหน้า ที่ยกเอาเรื่องการปกครองของไทยสมัยน่านเจ้ามากล่าวไว้ในที่นี้ด้วยนั้น ก็เพราะเห็น เป็นอัศจรรย์ที่ชนชาติไทยเรานั้น ได้มีการจัดระบบการปกครองตามแบบอย่างที่คนสมัยใหม่ว่า แบบเจริญศิวิไลมานานแล้ว แม้สมัยสุโขทัย เราก็จัดการปกครองอยู่ในระบบที่เหมาะสมกับสมัย สร้างชาติรวมชาติ คือระบบ “พ่อปกครองลูก” หรือที่ตำราฝรั่งเรียกว่า Paternalism หรือ Patriarchal monarchy ไทยเราปกครองระบอบนี้ดังที่ในประวัติศาสตร์เราเรียกพระเจ้าแผ่น ดินของเราว่า “พ่อขุน” มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเราได้คลุกคลีกับขอมซึ่งนับถือศาสนา พราหมณ์ ระบอบการปกครองของพ่อบ้านพ่อเมืองแบบ “ พ่อปกครองลูก” ของกรุงสุโขทัย จึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบ “เทวสมมุติ” หรือ “สมมุติเทพ” ที่ตำราฝรั่งเรียกว่า Divine right พ่อขุนผู้ปกครองประเทศกลายเป็น “พระเจ้า” ตามระบบเทวสิทธิของขอมและพราหมณ์ ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมุติหรือเทวสิทธินี้ นัยว่าถือคติอยู่ ๓ ประการ คือ ๑. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ ๒. พระเจ้าทรงเป็นผู้ปกครองรัฐ ๓. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว ด้วยประการฉะนี้ การปกครองแบบนี้จึงทำให้เกิดชนชั้นขึ้นคือ ชนชั้นปกครองเป็น ชนชั้นหนึ่ง กับชนชั้นที่ถูกปกครองคือราษฎร เป็นอีกชนชั้นหนึ่ง ซึ่งนักปราชญ์ทางปกครอง ถือว่า การปกครองระบอบนี้ เป็นต้นกำเนิดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และเป็นที่มาของ ลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา ที่ว่าด้วยเรื่องการปกครองนอกเรื่องการพระศาสนามาเสียยืดยาว ก็เพราะเห็นว่าเป็น เรื่องที่ควร “จดหมายเหตุ” ไว้ในที่นี้ด้วย และก็จะได้พูดถึงการพระศาสนาในสมัยกรุงสุโขทัย ต่อไป
Page 10
126 สมัยกรุงสุโขทัย (๑) สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตาม “ประวัติการศาสนา” จากหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับพิมพ์ เป็นที่ระลึกในวันครบรอบ ๗๒ ปี ของกระทรวงเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๗ กล่าวว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย” จึงนับว่า พระองค์เป็นพระปฐมที่ทรงให้สัญลักษณ์ว่า “พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย” ทั้งนี้ก็โดย อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึกที่ถือว่าเป็น งานบริหารการพระพุทธศาสนา ในลำดับแรก ของพระองค์ที่ทรงอาราธนาพระสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช ดังได้กล่าวมา ข้างต้นนั้นเอง อย่างไรก็ดี งานบริหารพระศาสนาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มิใช่จะมีเพียงเรื่องนี้ เรื่องเดียว หากมีเรื่องอื่นๆ อีกด้วย เท่าที่พอค้นคว้าได้นั้น ก็ได้แก่ ๑. เรื่องการรับลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัยดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น ซึ่งมีหลักฐานจากศิลาจารึก หลักที่ ๑ กล่าวในเรื่อง นี้ไว้ย่อๆว่า “พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถระสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา” ๒. เรื่องการตั้งสมณศักดิ์ เรื่องพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนากับสมณศักดิ์นี้ เคยมี ผู้กล่าวขวัญในทำนองที่ว่า ไม่เป็นการสมควรที่พระเจ้าพระสงฆ์จะมียศฐาบรรดาศักดิ์ บางท่าน ก็เข้าใจว่า เรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์หรือสมณศักดิ์ของพระภิกษุสงฆ์นี้ คงจะมีแต่เฉพาะในเมือง ไทยเท่านั้น เพื่อทำความเข้าใจกับผู้กล่าวขานดังกล่าวเสียให้ถูกต้องด้วยก็จำเป็นจะต้องยกเอา เรื่องนี้มากล่าวโดยย่อ ณ ที่นี้ด้วย ว่า สมณศักดิ์ของสงฆ์นี้นั้น หาได้มีแต่เฉพาะในเมืองไทย หรือจะมีในสมัยอยุธยาหรือสมัยกรุงเทพ นี้เท่านั้น ก็หาไม่ ความจริงมีมาแต่โบราณกาลนาน แล้วและมีทุกประเทศบ้านเมืองที่รับนับถือพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะหินยานนิกายหรือ เถรวาท และเหตุที่พระภิกษุสงฆ์ต้องมียศฐาบรรดาศักดิ์หรือสมณศักดิ์นั้นก็เพราะ - พระภิกษุสงฆ์เป็นสังคม ๆ หนึ่งจำเป็นต้องมีการจัดรูปการปกครองขึ้นในคณะ ของท่าน - การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศที่พระพุทธศาสนาเป็นประธานนั้น ต้องอาศัย อำนาจพระราชอาณาจักรอุดหนุน เรื่องนี้มีหลักฐานจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ใน เรื่อง “ตำนานคณะสงฆ์” เป็นข้อยืนยัน ซึ่งจะขอยกข้อความบางตอนในพระนิพนธ์ดังกล่าวมา ไว้ด้วย ดังนี้
Page 11
127 “เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลาย มีพระภิกษุสงฆ์บริษัทออกมาประดิษฐานถึงนานา ประเทศ ความจำเป็นต้องการพระราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นศาสนูปถัมภกใน ประเทศนั้น ๆ เกื้อกูลแก่การปกครองคณะสงฆ์ยิ่งมีมากขึ้น แม้ด้วยเหตุ ๒ ประการเป็นอย่าง น้อย คือ ประการที่ ๑ ที่ขนบธรรมเนียมบ้านเมืองและอัธยาศัยใจคอผู้คนในนานาประเทศซึ่ง พระพุทธศาสนาไปประดิษฐานนั้น ย่อมผิดกับในมัธยมประเทศที่พระพุทธองค์ทรงประดิษฐาน สงฆบริษัท ประการที่ ๒ พระภิกษุสงฆ์ซึ่งไปจากประเทศอื่น ตั้งต้นแต่มหาเถระชาวมัธยม ประเทศ เช่น พระมหินทรเถร ซึ่งเชิญพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกาทวีปก็ดี พระโสน พระอุตร ซึ่งเชิญพระพุทธศาสนามาประดิษฐานในสยามประเทศนี้ก็ดี หรือแม้ในชั้นหลังมา เมื่อ ชนชาวประเทศไทย เขมร มอญ พม่า และลังกาทวีป นับถือพระพุทธศาสนามั่นคง มีพระสงฆ์ บริษัทเกิดขึ้นในประเทศเหล่านี้ และไปมาถึงกันนั้นก็ดี คนที่เป็นชาวเมืองต่างประเทศกัน ถึงจะ ถือศาสนาเดียวกัน ความจริงก็เป็นชาวต่างชาติต่างภาษา มีความนิยมและความคุ้นเคย ขนบธรรมเนียมต่างกัน การปกครองสงฆมณฑลที่มาประดิษฐานตามนานาประเทศ จำต้อง อนุโลมตามแบบแผนประเพณี ซึ่งนิยมกันหรือเท่าที่อาจจะเป็นได้ในต่างประเทศที่พระพุทธ ศาสนาไปประดิษฐานนั้น เชื่อได้ว่าเหมือนกันหมดทั้งประเทศสยาม กัมพุช พม่า รามัญ และสิงหฬทวีป การปกครองคณะสงฆ์จึงต้องเนื่องด้วยราชการแผ่นดิน ตั้งแต่การวาง แบบแผนปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนตั้งสังฆนายกให้มีสมณศักดิ์ ให้การฝ่ายพระพุทธจักร และพระราชอาณาจักร เป็นไปโดยสะดวกด้วยกัน พระพุทธศาสนาจึงประดิษฐานมั่งคงสืบมาใน ประเทศนั้น ๆ” และก็เรื่องสมณศักดิ์นี้ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็ได้ทรงตั้งขึ้นควบคู่ไปกับการ วางแบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ ภายหลังจากที่ได้รับลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาประดิษฐานใน อาณาจักรของพระองค์ เรื่องการตั้งสมณศักดิ์ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ปรากฏในศิลาจารึกกล่าวแต่ เพียงตำแหน่งว่า มีสังฆราช มีปู่ครู มีมหาเถระและเถระ แต่ราชทินนามสมณศักดิ์ มิได้กล่าวไว้ หากแต่ไปมีในหนังสือพงศาวดารเหนือ กล่าวไว้ว่า ครั้งพระนครสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น จัด ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ เป็นฝ่ายขวาฝ่าย ๑ ฝ่ายซ้ายฝ่าย ๑ และมีราชทินนามสำหรับ สังฆนายก ดังนี้ ฝ่ายขวา พระสังฆราชา อยู่วัดมหาธาตุ พระครูธรรมไตรโลก อยู่วัดเขาอินทรแก้ว พระครูยาโชด อยู่วัดอุทยานใหญ่ พระครูธรรมเสนา อยู่วัดไหนไม่ปรากฏ
Page 12
128 ฝ่ายซ้าย พระครูธรรมราชา อยู่วัดไตรภูมิป่าแก้ว พระครูญาณไตรโลก อยู่วัดไหนไม่ปรากฏ พระครูญาณสิทธิ อยู่วัดไหนไม่ปรากฏ (ตามที่ปรากฏในพงศาวดารเหนือว่าไว้ดังนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง สันนิษฐานว่า อาจจะจัดขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทก็ได้) ๓. เรื่องการปกครองสงฆ์ เรื่องนี้เป็นเรื่องควบคู่กับ เรื่องสมณศักดิ์หรือจะว่าเรื่อง การจัดการปกครองสงฆ์ก่อนแล้ว เรื่องสมณศักดิ์ตามหลังมาก็ว่าได้ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช ทรงแยกการปกครองสงฆ์ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่มาจากลังกาวงศ์ เรียกว่า ฝ่ายอรัญวาสี ฝ่ายคณะสงฆ์เดิมที่มีมาแต่ก่อน เรียกว่า ฝ่ายคามวาสี แต่ละฝ่ายมีสังฆราช เป็นตำแหน่งสังฆนายกชั้นสูงสุด มีตำแหน่งปู่ครู ซึ่งเพี้ยนมาเป็นตำแหน่ง “พระครู” ในปัจจุบัน เป็นตำแหน่งสังฆนายกรองลงมาจากสังฆราช (การแยกการปกครองสงฆ์ออกเป็นอรัญวาสี และคามวาสีนี้ ยังไม่ชัดแจ้งว่าจัดในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท กันแน่นอนนัก) ๔. เรื่องการถวายที่กัลปนา เรื่องนี้เก็บความได้จากพงศาวดารเหนือบางตอนได้ ความว่า พระยาร่วงได้พระราชทานที่ไร่และนาสัด วัดวาอารามไว้เป็น พระกัลปนาอุทิศไว้ สำหรับ วัดโคกสิงคาราม ตำบลนา ๕๐๐ ไร่ ตำบลโอทานา ๒๕๐ ไร่ ตำบลคลองวัดกูปไปถึง ป่าปูน ๑๕๐ ไร่ ตำบลนาดอนได้ ๔๖๐ ไร่ สำหรับวัดแก้วราชประดิษฐาน ตำบลนาตะแคงได้ ๒๕ ไร่ ตำบลทุ่งขาลาได้ ๗๖๐ ไร่ ตำบลศีรษะกระบือได้ ๗๕๐ ไร่ นอกจากนี้ก็มี วัดอุทยาน ใหญ่ วัดเขาหลวง วัดเขาอินทร์อรัญวาสี และวัดไตรภูมิป่าแก้ว ๕. เรื่องให้กำเนิดกฐินหลวง เรื่องกฐินหลวงนี้นับว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็น พระปฐมกษัตริย์ที่ทรงกำหนดให้มีพระราชประเพณีทอดกฐินหลวงขึ้นเป็นพระองค์แรก ในบรรดานานาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา จนประเพณีอันนี้ได้สืบเนื่องมาจนตราบเท่าทุก วันนี้ จากหนังสือตำนานกฐิน ของหลวงวิจิตรวาทการ กล่าวเป็นการรับรองเกี่ยวกับราช ประเพณีกฐินหลวง ไว้ดังนี้ “การทอดกฐินนั้น สำหรับในอินเดียสมัยพุทธกาล หรือต่อมากับในลังกานั้น ได้มี ผู้พยายามค้นคว้าหานามผู้ทอดกฐิน แต่ไม่พบว่าใครทอดบ้าง และการทอดกฐินในประเทศอื่น ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ทำกันเป็นงานใหญ่โตสำคัญเท่ากับในเมืองไทย เพราะในเมืองไทยนั้น การทอดกฐินเป็นราชประเพณีหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงนำราษฎร ให้บำเพ็ญกุศลในเรื่องนี้ กฐินที่พระมหากษัตริย์ทรงทอดด้วยพระองค์เองก็ดี หรือพระราชทาน ให้ผู้หนึ่งผู้ใด ทอดในนามของพระองค์เองก็ดี เรียกกันว่า “กฐินหลวง”
Page 13
129 และในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ก็สอดคล้องรับรองกับคำกล่าวของหลวงวิจิตรวาทการ อีกด้วย ดังความในศิลาจารึกว่าไว้ ดังนี้ “คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้า ลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมี ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษา กราลกฐินเดือนหนึ่ง จึงแล้ว เมื่อกราลกฐินมีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปี แล้ญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐิน ถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจะเข้าเวียงเรียงกันแต่อรัญญิก พู้น ท้าวหัวลานคำบง คำกลอยด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจะ มักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนญอม คนเสียดกันเข้า ดู ท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดังจักแตก” ๖. เรื่องการศึกษาเล่าเรียน เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของไทยเรานั้น ต้องนับว่าเรา เริ่มต้นมาตั้งแต่รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทีเดียว ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงให้ กำเนิดตัวหนังสือไทย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ทำให้ชนชาติไทยไพร่บ้านพลเมืองของพระองค์มีตัว หนังสือใช้ และในการประดิษฐ์คิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นใช้นี้ การที่จะให้อักษรไทยแพร่หลาย พระองค์ต้องอาศัยการพระศาสนาเป็นประการสำคัญ จึงนับว่าพระองค์เป็นพระปฐมแห่ง การศึกษาของชาติไทยในยุคตั้งสยามประเทศ ณ กรุงสุโขทัยโน้น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงบำรุงพระศาสนาและการศึกษาควบคู่กันไป โดย อาราธนาพระสงฆ์ลังกาวงศ์ผู้รอบรู้พระไตรปิฎก จากเมืองนครศรีธรรมราช มาสู่สำนักสุโขทัย ดังความปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ ๑ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น นอกจากนั้นยังได้ให้การ ศึกษาโดยวิธีอบรมพลเมือง โดยทรงปลูกดงตาลให้ประดิษฐานพระแท่นมนังคศิลากลางดงตาล นั้น ในวันธรรมสวนะโปรดให้มหาเถระขึ้นนั่งแสดงธรรมแก่อุบาสก ผู้จำศีล ส่วนวันอื่น ๆ พระองค์เสด็จขึ้นทรงอบรมข้าราชการและประชาชนเอง ดังความในศิลาจารึกว่า “๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟัน ขะดารหิน ตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็มเดือนบ้าง ฝูงปู่ครูมหา เถระ ขึ้นนั่งเหนือขะดารนี้ สวดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจำศีลผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขะดารหิน ให้ฝูงท่วย ลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านเมืองกัน”
Page 14
130 (๒) สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์นี้ทรงเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงและ ทรงเป็นกษัตริย์สุโขทัยในลำดับรัชกาลที่ ๕ พระองค์มีพระนามเมื่อราชาภิเษกว่า “พระเจ้าศรี สุริยพงศาราม มหาธรรมราชาธิราช” ยุคนี้เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ยิ่งเจริญรุ่งเรือง ยิ่งขึ้น จะว่าเจริญถึงจุดสุดขีดก็ว่าได้ ถ้าจะสรุปพระราชกรณียกิจในเรื่องการพระศาสนาของ พระองค์แล้ว ก็ทรงบริหารงานพระศาสนาและการศึกษาของประชาชนพลเมือง ในทำนอง เดียวกันกับสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หากแต่ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เจริญรุ่งเรื่องยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็ด้วยผลงานที่พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงปูพื้นฐานที่ดีงามไว้แล้ว เป็นปัจจัยสำคัญด้วย ประการหนึ่งนั่นเอง งานด้านพระศาสนาและด้านการศึกษาในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท มีหลาย ด้านหลายประการมากมาย ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างที่สุด ทรง ใฝ่พระทัยในการพระศาสนาและการศึกษาเป็นที่สุด ทรงรอบรู้ในพระธรรมวินัยไตรปิฎกอย่าง มาก ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองได้ร่มเย็นเป็นสุข และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างที่สุด เช่นกัน นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์และทรงเป็นกษัตริย์นักการศาสนาชั้นเยี่ยม หากจะ สรุปพระราชกรณียกิจ และผลงานในด้านการนี้ของพระองค์แล้วก็คงได้แก่ ๑. ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาจากลังกาทวีปเข้ามา เป็นการเสริมสร้างพระราช กรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระอัยกาของพระองค์ที่ทรงเลื่อมใสในลัทธิลังกาวงศ์ แต่ว่าในครั้งสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น เพียงแต่อาราธนาพระสงฆ์ไทยในลัทธิลังกาวงศ์มาจาก เมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น ๒. ทรงศึกษาเล่าเรียนในสำนักสงฆ์ลังกาวงศ์ และสำนักราชบัณฑิตจนทรงทราบ พระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน ๓. ทรงบำรุงการเล่าเรียนพระไตรปิฎก โดยสร้างปราสาทราชมณเฑียรสถาน (สร้างเป็นแบบก่ออิฐถือปูน ไม่ใช่สร้างด้วยไม้ และในหนังสือนางนพมาศ บอกชื่อปราสาทราช มณเฑียรนี้ว่า ชื่อพระที่นั่งอินทราภิเษก พระที่นั่งอดิเรกภิรมย์ พระที่นั่งอุดมราชศักดิ์ พระที่นั่ง ชัยชุมพล พระที่นั่งชลพิมาน พระที่นั่งพิศาลเสาวรส พระปรัศรัตนนารี พระปรัศศรีอับศร) แล้วทรงเผดียงสงฆ์ ได้เข้าไปเรียนพระไตรปิฎกในบริเวณปราสาทนั้น ๔. ทรงให้ราชบุรุษไปรับพระบรมธาตุมาจากลังกาทวีป แล้วนำไปบรรจุไว้ที่เมืองนครชุม ๕. ทรงจัดวางแบบแผนในสังฆมณฑลเยี่ยงลังกาให้มั่นคงยิ่งขึ้น (เอกสารบางฉบับว่า พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงแบ่งสงฆ์ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายอรัญวาสี และฝ่ายคามวาสี เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง)
Page 15
131 ๖. ทรงรับภาระสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนเพิ่มเข้าในราชกิจด้วย ๗. ทรงรับพระไตรสรณคมน์ (จากพระมหาสวามี พระเถระชาวลังกาตามข้อ ๑ เป็น อุปัชฌาย์) บรรพชาที่ในพระราชมณเฑียร แล้วออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ ณ ป่ามะม่วง ในอรัญญิก พระราชกรณียกิจนี้ นับเป็นแบบอย่างสืบมาจนทุกวันนี้ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกทรง ผนวช ๘. ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา สำหรับเรื่องการทรงศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎก และวิชาการต่างๆ เชี่ยวชาญและการ อาราธนาพระมหาสวามี ในข้อ ๑และข้อ ๒ นั้น มีความตามคำแปล ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง หลักที่ ๔ ด้านที่ ๒ ว่า “เรียนพระวินัย พระอภิธรรมโดยโลกาจารย์ มีพราหมณ์และดาบสเป็นต้น สมเด็จ พระบพิตรทรงพระราชบัญญัติ คัมภีร์เพศ ศาสตราคม ธรรมนิยาย มีโชยติศาสตร์ (ตำราโหร) เป็นต้น (ตำรา)พรรษา มาส สุริยคราส จันทรคราส ทรงสรรพพิจารณาพระองค์ทรงพระปรีชา โอฬาริก ฝ่ายผาลคุณานุต (คือวันสิ้นเดือน ๔)...แลศักราชที่เกิน ทรงได้แก้ให้สิ้นเบาถูกต้อง พระองค์ทรงพิจารณา อูณ อธิกมาส ทินวาร นักษัตร ให้ทราบเป็นสังเขป โดยกรรมสิทธิ์ สมเด็จบพิตรอาจถอน อาจลบ อาจเติม...โดยสิทธิศักดิ์ พระกรรม ทุกมาตรากฎ ศรีเกียรติ แท้...เสด็จเสวยราชสมบัติในศรีสัชนาลัยได้ ๒๒ ปี ลุมหาศักราช ๑๒๘๓ ศกฉลู สมเด็จพระ บพิตรตรัสให้ราชบัณฑิตไปอาราธนามหาสามีสังฆราช อันกอบด้วยศีล ทรงเรียนพระไตรปิฎก จบ อันสถิตอยู่ในลังกาทวีปซึ่งมีศีลาจารย์ คล้ายกับขีณาสพครั้งโบราณ (ตรัสให้อาราธนามหา สามี) จากนครพ้นแล้วครึ่งทาง จึงรับสั่งให้นายช่างปลูกกุฎีวิหารระหว่างป่ามะม่วง อันมีในทิศ ประจิมเมืองสุโขทัยนี้” อันกษัตริย์กรุงสุโขทัยนั้น นอกจากพ่อขุนรามคำแหง จะได้รับสมัญญาเป็นกษัตริย์ “มหาราช” แล้ว ถ้าพิจารณาจากพระราชกรณียกิจของพระมหาธรรมราชาลิไท ในด้านต่าง ๆ แล้ว ถ้าจะถวายพระนามว่า “ธีรราช” อีกสักพระองค์หนึ่งก็น่าจะเหมาะสมกับพระเกียรติคุณ เป็นแน่แท้ พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหาธรรมราชาลิไท ที่ควรกล่าวและย้ำไว้อีกคือ ทรงให้ขุดคลองและทำถนนแต่เมืองสุโขทัย ไปจนเมืองศรีสัชนาลัย และเมือง น้อยใหญ่ เป็นการสนองพระราชกุศล สนองพระคุณพระราชบิดา ถนนที่ว่านี้ก็คือ ถนนพระร่วง นี้เอง ทรงชำนาญโหราศาสตร์ อาจจะถอนจะยกจะลบปีเดือนมิให้คลาดเคลื่อน
Page 16
132 การที่ทรงผนวชนั้น นอกจากจะเป็นแบบอย่างสำหรับพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ย่อมนับเป็น จุดเริ่มต้นของการที่ให้คนไทยได้บวชเรียนเป็นประเพณีสืบต่อ ๆ กันมาจนทุกวันนี้ แต่ทั้งนี้ส่วน ใหญ่มักมองข้ามว่าจุดเริ่มต้นนี้ เริ่มมาแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา แม้การศึกษาของสงฆ์ที่ทรงเผดียงเข้าไปเรียนพระไตรปิฏก ในพระราชมณเฑียรนี้ ก็ยังเป็นเหตุ ให้เกิดประเพณีพระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานอุปถัมภ์ให้เล่าเรียนในวัง สืบต่อมาจนถึงสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสรุปแล้ว สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท สามารถเรียกได้ว่า บ้านเมืองดี สมกับคำจารึกในศิลาที่ประกาศว่า ในสมัยของพระองค์เจริญสุขสำราญ ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีทาสในเมืองสุโขทัย และไม่มีข้าศึกมาเบียดเบียน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย
Page 17
133 สมัยอาณาจักรลานนา อาณาจักรลานนา เป็นอาณาจักรไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นอาณาจักรอิสระ เริ่มต้น อาณาจักรยุคเดียวกับอาณาจักรสุโขทัย และเจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยเดียวกับสุโขทัยเช่นกัน และก็ได้เจริญต่อมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น เรื่องของอาณาจักรไทยลานนามีอะไร ๆ หลายอย่างคล้ายคลึงกับสุโขทัยและอยู่ใน ระยะเวลาใกล้เคียงกันด้วย เช่น ๑. พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ก็เข้าสู่อาณาจักรลานนาในระยะเดียวกันกับสุโขทัย ซึ่ง ตามพงศาวดารโยนก กล่าวว่า เข้ามาสมัยพระเจ้ากือนา เจ้านครพิงค์เชียงใหม่ แต่ว่าเข้ามา ทางรามัญประเทศ และได้รับการทำนุบำรุงจากพระมหากษัตริย์ลานนา มีความเจริญรุ่งเรือง เช่นเดียวกัน ๒. มีการอาธนาพระสงฆ์จากลังกาทวีป และส่งพระสงฆ์ไทยไปศึกษาที่ลังกาเหมือนกัน ส่งไปเมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๕ พร้อมกับพระเถระชาวกรุงศรีอยุธยา และพระเถระชาวกัมพูชา เป็น พระเถระชาวลานนา ๗ รูป ชื่อพระธรรมคัมภีร์ ๑ พระเมธังกร ๑ พระญาณมงคล ๑ พระศิลวงศ์ ๑ พระสารีบุตร ๑ พระรัตนากร ๑ พระพุทธสาคร ๑ ชาวกรุงศรีอยุธยา ๒ รูป ชื่อ พระพรหมมุนี ๑ พระโสมเถระ ๑ และชาวกัมพูชา ๑ รูป ชื่อพระญาณสิทธิ กับมีพระภิกษุ บริษัทอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ร่วมไปกับพระเถระคณะนี้อีกด้วย ขากลับได้นิมนต์พระมหาเถระ ชาวลังกามาด้วย ๒ รูป ชื่อพระมหาวิกรรมพาหุรูป ๑ พระอุดมปัญญารูป ๑ ๓. พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ไทยลานนา ก็ได้ทรงอุปสมบทชั่วคราวเช่นเดียวกันกับ พระมหาธรรมราชาลิไท (ราว พ.ศ. ๑๙๙๐) แต่อาณาจักรลานนา ยังมีหลายสิ่งหลายอย่าง ในทางพุทธศาสนาด้านตำรับ ตำรา ได้รุดหน้าไปกว่าสุโขทัยอีกด้วย เช่น ๑. พระเจ้าติโลกราช ได้ทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นใน พ.ศ. ๒๐๒๐ (ตั้งอาณาจักราศีอยุธยาแล้ว) ๒. มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตฝ่ายสมณะเกิดขึ้นหลายองค์ แต่ละองค์ได้รจนาคัมภีร์ทาง พระพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์ไว้ด้วย เช่น ๑) พระญาณกิตติ รจนา โยชนาวินัย โยชนาอภิธรรม และอื่น ๆ รวมประมาณ ๑๐ คัมภีร์ ๒) พระรัตนปัญญา รจนา วชิรสารัตถสังคหะ และชินกาลมาลี ๓) พระโพธิรังษี รจนา จามเทวีวงศ์ ๔) พระนันทาจารย์ รจนา สารัตถะสังคหะ ๕) พระสุวรรณรังสี รจนา ปฐมสมโพธิสังเขป ๖) พระสุวรรณปทีปเถระ รจนา อเผคคุสารัตถทีปนี ๗) พระสิริมังคลาจารย์ รจนา มังคลัตถทีปนี เวสสันดรทีปนี จักกวาฬทีปนี สังขยา ปกาสกฎีกา ซึ่งถือกันว่า พระมหาเถระองค์นี้ เป็นรัตนกวีที่เด่นที่สุดของลานนาไทย คัมภีร์ต่าง ๆ ที่ปราชญ์ชาวลานนา รจนาขึ้นนี้ ได้มีอิทธิพลในการศึกษาภาษาบาลีสืบมา จนทุกวันนี้ โดยเฉพาะคัมภีร์เรื่องมังคลัตถทีปนี เป็นต้น
Page 18
134 สมัยอาณาจักรศรีอยุธยา เรื่องการพระศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ คงเป็นเรื่องต่อเนื่องจากกรุงสุโขทัย เพราะกรุงศรีอยุธยา ตั้งอาณาจักรไทยทางใต้ขึ้นในสมัยคาบเกี่ยวกับกรุงสุโขทัย มีการรับ นับถือพระพุทธศาสนาร่วมนิกายเดียวกัน แยกการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็นคณะอรัญวาสี และคณะคามวาสีเช่นเดียวกัน และพระมหากษัตริย์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับ กษัตริย์กรุงสุโขทัย แม้ลัทธิศาสนาก็ถือแบบลังกาวงศ์ด้วยกัน ดังได้กล่าวแล้วในสมัยอาณาจักร ลานนาว่า พระมหาเถระชาวกรุงศรีอยุธยาได้ร่วมคณะไปสืบพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ณ ลังกาทวีป พร้อมกับพระเถระชาวลานนาและกัมพูชา นั้นก็คือ พระพรหมมุนี กับพระโสม เถระ ซึ่งพระมหาเถระชาวกรุงศรีอยุธยา ที่เดินทางไปลังกาทวีปครั้งนั้น (พ.ศ. ๑๙๖๕) ตาม ตำนานคณะสงฆ์ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า ตรงกับรัชสมัยของ สมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑ (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า สมเด็จ พระอินทราชาธิราชที่ ๑ เสด็จสวรรคตเมื่อปีจอ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๗๘๐ ตรงกับ พ.ศ. ๑๙๖๑ ปี พ.ศ. ๑๙๖๕ อยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พระราชโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑) ดังนั้น บทบาทการพระศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงน่าจะเริ่มในแผ่นดินสมเด็จ พระอินทราชาธิราชที่ ๑ หรือในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ดังกล่าวข้างต้น แต่การปรับปรุงทำนุบำรุงที่เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ได้เริ่มขึ้นในแผ่นดินสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ โดยลำดับดังนี้ ๑. แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคแรก (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๓๑) ไทยมีพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งยุคอีกพระองค์หนึ่ง นั้นคือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์นี้นอกจากจะจัดการ ปกครองบ้านเมืองให้มีระเบียบเรียบร้อยและเข้มแข็งอย่างดี เช่น จัดการปกครอง แยกออก เป็น ๒ ฝ่ายใหญ่ ๆ คือ ๑. ฝ่ายการทหารมีสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าทั่วราชอาณาจักร และมี แม่ทัพนายกองรองลงไปตามลำดับ ๒.ฝ่ายพลเรือน มี สมุหนายกเป็นหัวหน้าทั่วราชอาณาจักร และมีเสนาบดีชั้นรองลงมาอีก ๔ ตำแหน่ง ซึ่งเดิมเรียกว่า “จตุสดมภ์” นั้น (จตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งสมเด็จพระรามธิบดี ที่ ๑ (อู่ทอง) ทรงจัดตั้งขึ้น) เปลี่ยนเรียกชื่อใหม่เป็น ขุนเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล ขุนวัง : ธรรมาธิกรณ์ ขุนคลัง : โกษาธิบดี ขุนนา : เกษตราธิการ ให้กำเนิด บรรดาศักดิ์ มีพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น รวมทั้ง วางตำแหน่งศักดินา ให้เป็นเริ่มแรก และตั้งกฎมณเฑียรบาลขึ้นด้วย ในด้านการพระพุทธศาสนาพระองค์ได้บริหาร งานในด้านนี้อย่างยิ่งใหญ่ ควบคู่ไปกับการบริหารบ้านเมืองอีกด้วย จะว่าพระองค์ทรงดำเนิน ตามแบบอย่างพระเจ้าอโศกมหาราช หรือ พระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย ก็น่าจะ ไม่ผิดงานด้านพระพุทธศาสนาของพระองค์ ควรยกมากล่าวก็คือ
Page 19
135 ๑. ส่งทูตออกไปนิมนต์พระสงฆ์จากลังกาให้มาสั่งสอนพระศาสนา และภาษาบาลี (จากประวัติกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้า ๘๒ และความรู้รอบตัวของ นายกิมฮวย(กมล) มลิทอง (อดีตเลขานุการกรม กรมการศาสนา) แต่อาจจะคราวเดียวกับ พระพรหมมุนี กับพระโสมเถระไปลังกาทวีป ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ ในตำนานคณะสงฆ์ ว่า อยู่ในแผ่นดินพระอินทราชาธิราชก็ได้) ๒. ทรงอุทิศพระราชวังตอนหนึ่ง สร้างเป็นวัด เรียกชื่อว่า วัดพุทธาวาส (ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดพระศรีสรรเพชญ ทำนองเดียวกับ วัดมหาธาตุที่กรุงสุโขทัย วัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ในกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ดำเนินตามพระราชประเพณี ดังกล่าว) ๓. ทรงพระราชศรัทธา ออกผนวชเป็นพระภิกษุชั่วคราว ประทับ ณ วัดจุฬามณี ข้างใต้ เมืองพิษณุโลก ซึ่งพระองค์ทรงให้แก้เทวสถานเดิม แล้วสร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๗ (จากหนังสือโบราณวัตถุสถาน ทั่วราชอาณาจักร ของกรมศิลปากร เรียบเรียงโดย นายชิน อยู่ดี) นอกจากพระองค์จะออกทรงผนวชแล้ว ยังโปรดให้พระราชโอรส (สมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๒) ออกทรงผนวชเป็นสามเณรด้วย พร้อมกับพระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่ง (แปลว่าประเพณีมีเจ้านายทรงผนวชนั้น น่าจะมาจากพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถครั้งนี้) ๔. ทรงโปรดให้ประชุมราชบัณฑิตแต่ง มหาชาติคำหลวง โดยแปลและแต่งเป็นสำนวนไทย จากต้นฉบับบาลี เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕ (เรื่อง มหาชาติคำหลวงนี้บางตำรากล่าวว่า สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ โปรดให้ประชุมราชบัณฑิต แปลและแต่ง) ทรงแต่ง แต่มีหลักฐานบอก จดหมายเหตุไว้ในลิลิตนั้นว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๕. ทรงกำเนิดศักดินาสำหรับฝ่ายสงฆ์ขึ้น (ตามที่กล่าวข้างต้นว่า พระองค์เป็นผู้ทรง บัญญัติ ให้มีการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ ขุนนาง ข้าราชการ เป็นพระยา พระหลวง ขุน หมื่น (ตำแหน่งเจ้าพระยาในสมัยนั้น ยังไม่มี) แล้ววางตำแหน่งศักดินาให้แก่ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์ ให้มีที่นาได้ชั้นละเท่าใด ทั้งนี้ เริ่มแต่พลเมืองราษฎรสามัญ มีนาได้คนละ ๒๕ ไร่ และขุนนาง จากหมื่น ขุน หลวง พระ พระยา เพิ่มขึ้นตามลำดับ) ดังนี้ :- ๑) พระครูผู้รู้ธรรม ศักดินา ๒๔๐๐ ไร่ ๒) พระครูไม่รู้ธรรม ” ๑,๐๐๐ ไร่ ๓) พระภิกษุผู้รู้ธรรม ” ๖๐๐ ไร่ ๔) สามเณรผู้รู้ธรรม ” ๓๐๐ ไร่ ๕) สามเณรไม่รู้ธรรม ” ๒๐๐ ไร่ ๖. นอกจากที่กล่าวแล้ว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยังทรงรอบรู้ศิลปวิทยาต่าง ๆ ทั้งในด้านอักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ในแผ่นดินของพระองค์ได้มีวรรณคดี สำคัญ ๆ นอกจากมหาชาติคำหลวงแล้ว ยังมีลิลิตพระลอ และลิลิตยวนพ่าย ในด้านการ ก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม นอกจากจะทรงอุทิศพระราชวัง สร้างวัดพุทธา วาสหรือวัดพระศรีสรรเพชญแล้ว ยังได้ทรงสถาปนาและปฏิสังขรณ์วัดอื่นๆ คือ
Page 20
136 ๑) สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหาร ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ขึ้นเป็นวัด ให้นามว่า “วัดพระราม” ๒) สร้างวัดจุฬามณี ขึ้น ณ เมืองพิษณุโลก ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ๓) สร้างพระศรีรัตนมหาธาตุ คือพระปรางค์ ตรงที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช รวมทั้งโบสถ์วิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ๔) สร้างรูปพระโพธิสัตว์ ๕๕๐ ชาติ ๕) สร้างพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ถวายพระนามว่า พระอัฎฐารสศรีสุคตทศพลญาณ บพิตร ซึ่งเดิมอยู่วัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก และได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่พระวิหาร วัดสระเกศ กรุงเทพฯ ในปัจจุบันนี้ ๒. แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ การพระศาสนาในรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ มีเรื่องสำคัญเกี่ยวกับการ พระพุทธศาสนาที่ควรนำมากล่าวในที่นี้ คือ เรื่องที่ กัลปนา เรื่องที่ กัลปนา นี้ ได้กล่าวมาในตอนต้นที่ว่าด้วยการพระศาสนาในสมัยกรุงสุโขทัย ว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก็ได้เคยพระราชทานที่ไร่ และนาสัดวัดวาอารามไว้ เป็นพระกัลปนา อุทิศไว้สำหรับวัดโคกสังคาราม และวัดอื่นๆมาแล้วนั้น เมื่อค้นดูพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ได้พบว่า ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ทรง พระกรุณา ตั้งพระราชกำหนดกฎหมายถวายที่กัลปนาแก่วัดวาอารามด้วยเหมือนกัน ดังความ ในพระราชพงศาวดารว่า “ลุศักราช ๙๕๗ (พ.ศ. ๒๑๓๘) ปีมะแมสัปตศก ทรงพระกรุณาตั้งพระราชกำหนด กฎหมายพระอัยการและส่วยสัดพัฒนากรขนอน ตลาด และพระกัลปนาถวาย เป็นนิตยภัตรแก่ สังฆารามคามวาสี อรัญวาสีบริบูรณ์” ซึ่งตามความตอนนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในอธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถท้ายพระราชพงศาวดารว่า “สมเด็จพระเอกาทศรถ พระราชทานที่กัลปนาเป็นนิตยภัตรพระสงฆ์ ที่เรียกว่า พระราชทานที่กัลปนานั้น หมายความว่า พระราชทานผลประโยชน์ในภาษีที่ดินเป็นนิตยภัตร เลี้ยงพระสงฆ์ ไม่ได้พระราชทานตัวที่ดิน ประเพณีพระราชทานที่กัลปนาเป็นพระราชประเพณี โบราณมีมาแต่ครั้งสุโขทัย ไม่ใช่ตั้งขึ้นใหม่ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นแน่ ที่หนังสือ พระราชพงศาวดารกล่าว เห็นจะหมายความว่าพระราชทานเพิ่มเติมที่กัลปนาขึ้นอีก คือ วัดหลวงใดที่ยังไม่มีที่กัลปนามาแต่ก่อน ก็จัดให้มีขึ้นให้เหมือนกับวัดที่มีแล้วให้บริบูรณ์เท่านี้เอง” ๓. แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม พระเจ้าทรงธรรม พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์นี้ ค้นจากตำราทางประวัติศาสตร์หลายเล่ม ไม่ได้ความชัดว่าเป็นใครมาจากไหน จากพระราช
Page 21
137 พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาก็ดี ฉบับของพระจักพรรดิพงศ์ก็ดี ฉบับของพันจันทนุ มาศ(จิม) ก็ดี รวมทั้งฉบับอื่น ๆ ก็ได้ความสั้น ๆ เพียงว่า พระนามเดิม ว่าพระศรีศิลป์ บวชเป็น พระภิกษุอยู่วัดระฆัง ได้สมณฐานันดรเป็นพระราชาคณะที่ พระพิมลธรรมอนันตปรีชา ความ จากหนังสือ ๕๐ กษัตริย์ไทยของอุดม ประมวลวิทยา ฉบับสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ซึ่งรวบรวม จากประวัติศาสตร์หลายเล่มทั้งของไทยและต่างประเทศ จากจดหมายเหตุของสังฆราชปาล เลกัวซ์ กลับว่า พระศิลป์เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่หลายฉบับ เชื่อกันว่า พระเจ้าทรงธรรม ซึ่งมีอีกพระนามหนึ่งว่า พระอินทราชา นั้น เป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระ เอกาทศรถ ซึ่งเกิดจากหญิงชาวบ้านบางปะอิน (ที่ว่าคือ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง นั่นเอง) เท็จจริงจะเป็นอย่างไรขอพักไว้เป็นเรื่องของนักประวัติศาตร์จะ ตัดสิน แต่ในที่นี้จะขอกล่าวย่อ ๆ พอให้เข้าใจกับเรื่องของการพระศาสนาไว้ ความมีปรากฏใน พระราชพงศาวดารดังนี้ “ลุศักราช ๙๔๖ (พ.ศ. ๒๑๔๕) ปีขาลจัตวาศก พระรีศิลป์ บวชอยู่วัดระฆัง รู้พระไตรปิฎกสันทัด ได้สมณฐานันดรศักดิ์ เป็นพระพิพลธรรมอนันตปรีชา ชำนาญทั้งไตรเพท ทางคศาสตร์ ราชศาสตร์ มีศิษย์โยมมาก ทั้งจมื่นศรีสรรักษ์ ก็ถวายตัวป็นบุตรเลี้ยง ครั้งนั้น เชี่ยวชาญคนทั้งหลายนับถือมาก จึงคิดกันกับจมื่นศรีสรรักษ์ และศิษย์โยมเป็นความลับ ซ่องสุมสมัครพรรคพวกได้มากแล้ว ก็บริวัตรออกเวลาพลบค่ำ ก็พากันไปชุมพล ณ ปรางค์วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ ครั้นได้อุดมนักขัตฤกษ์ ก็ยกพลมาพังประตูมงคลสุนทร เข้าไปท้องสนาม หลวง ขุนนางซึ่งนอนเวร เอาความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(พระศรีเสาวภาคย์ พระ ราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ) ตกพระทัยตลึงไปเป็นครู่ จึงตรัสว่า เวราแล้วก็ตามเถิด แต่อย่าให้ลำบากเลย พระพิมลธรรมเข้าพระราชวังได้ ก็ให้คุมเอาพระเจ้าแผ่นดินไปให้พันธนา ไว้มั่นคง รุ่งขึ้นให้นิมนต์พระสงฆ์บังสุกุลร้อยหนึ่ง ให้ธูปเทียนมาแล้ว ก็ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เอาพระศพไปฝัง ณ วัดโคกพระยา พระศรีเสาวภาคย์ อยู่ในราชสมบัติปีหนึ่งกับสองเดือน” และ “สมเด็จพระพิมลธรรมเสด็จขึ้นผ่านพิภพกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมอันมหาประสริฐ ทรงพระกรุณาให้จมื่นศรีสรรักษ์ เป็นอุปราชอยู่ ๗ วัน มหาอุปราชประชวรลง ๓ วัน สวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แต่งการพระราชทาน เพลิงตามอย่างอุปราช” เรื่องพระราชประวัติย่อของ พระเจ้าทรงธรรม ตามพระราชพงศาวดารมีเพียงเท่า นี้แต่โดยที่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาพระองค์นี้มีบทบาทและผลงานด้านการพระศาสนา หลายอย่างหลายประการที่ควรจะนำมากล่าวในที่นี้ก็คือ ๑) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เคยบวชเรียนเป็นพระเถระผู้ใหญ่ชั้น “พระพิมลธรรม” (ตำแหน่งพระราชาคณะชั้น พระพิมลธรรม ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น จากตำนานคณะสงฆ์ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่าเป็นตำแหน่งเจ้าคณะรอง คามวาสีฝ่ายซ้าย รองจากสมเด็จพระอริยวงศาสังฆาราชาธิบดี ซึ่งเป็นเจ้าคณะคามวาสีฝ่าย ซ้าย) นัยว่าทรงรอบรู้ในพระธรรมวินัยไตรปิฎกอย่างดีมาแล้ว
Page 22
138 ๒) ทรงพบรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในรัชสมัยของพระองค์ ดังความตาม พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า “ศักราช ๙๖๘ (พ.ศ. ๒๑๕๙) ปีมะเมียอัฐศก… ในปีนั้นเมืองสระบุรีบอกมาว่า พรานบุญพบรอยเท้าอันใหญ่บนไหล่เขาเห็นประหลาด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีพระทัย เสด็จด้วย พระที่นั่งเรือชัยพยุหยาตราพร้อมด้วยเรือท้าวพระยาสามนตราชดาษดาโดยชลมารคนทีธาร ประทับท่าเรือรุ่งขึ้นเสด็จทรงพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์พร้อมด้วยคเชนทรเสนางคนิกรเป็น อันมาก ครั้งนั้นยังมิได้มีทางสถลมารค พรานบุญเป็นมัคคุเทศก์นำลัดตัดดงไปถึงเชิงเขาสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวตรัสทอดพระเนตรเห็นแท้เป็นรอยพระบรมพุทธบาทมีลายลักษณ์กงจักรประกอบ ด้วยอัฐตรสตมหามงคลร้อยแปดประการ สมด้วยพระบาลี แล้วต้องกับเมืองลังกาบอกเข้ามา ว่า กรุงศรีอยุธยามีรอยพระพุทธบาทอยู่เหนือยอดเข้าสุวรรณบรรพตก็ทรงพระโสมนัสปรีดา ปราโมทย์ถวายทัศนังเหนือพระอุตมางคศิโรตม์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์เป็นหลายครากระทำ สักการะบูชาด้วยธูปเทียนคันธรสจนนับมิได้...” ๓) ทรงพระราชนิพนธ์ กาพย์มหาชาติ (ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราช หัตถเลขา และฉบับของบริติชมิวเซียม ว่าทรงแต่ง พระมหาชาติคำหลวง แต่ที่ถูกต้อง มหาชาติคำหลวง นั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแต่งมาแล้ว ดังนั้น ที่พระเจ้าทรงธรรม แต่งใหม่จึงเรียกว่า กาพย์มหาชาติ) ๔) ทรงสร้างพระไตรปิฎกจนจบบริบูรณ์เป็นครั้งแรกของราชอาณาจักรไทย ๕) ทรงพระราชศรัทธาเสด็จออกบอกหนังสือพระภิกษุสามเณร ณ พระที่นั่ง จอมทองสามหลัง เนือง ๆ ๔. แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธ ศาสนาอย่างแรงกล้าอีกพระองค์หนึ่ง ดังปรากฏเรื่องราวจากจดหมายเหตุของ ลาลูแบร์ (มองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เป็นเอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ แห่งกรุงฝรั่งเศส ผู้เข้า มาทูลพระราชสาส์น เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐) ว่าพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้พระราชทานพระราชูปถัมภ์แก่ผู้บวชเป็นพระภิกษุสามเณรเป็นอเนกประการ จนเป็นเหตุให้ ราษฎรที่ปรารถนาจะหลบเลี่ยงราชการบ้านเมือง พากันไปบวชเป็นอันมาก เมื่อพระองค์ทรง ทราบ จึงดำรัสให้ออกหลวงสรศักดิ์เป็นแม่กองประชุมสงฆ์สอบความรู้พระภิกษุสามเณร ปรากฏว่าพระภิกษุสามเณรที่หลบลี้ราชการออกไปบวช สอบได้ความชัดว่าไม่มีความรู้ในทาง ศาสนา ถูกบังคับให้ลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสเป็นอันมาก จึงสรุปได้ว่า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเองได้เป็นเหตุที่มาของการ สอบไล่ ซึ่งหมายความว่าสอบดูความรู้ ถ้าไม่มีความรู้ก็ไล่ออกไปจากเพศสมณะเป็นอันได้ ความว่ามูลเหตุแห่งการสอบไล่เกิดขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและมาจาก เรื่อง บวชหนีราชการนี้เอง
Page 23
139 (ออกหลวงสรศักดิ์ ตามจดหมายเหตุลาลูแบร์นี้คือ พระเจ้าเสือกษัตริย์กรุง ศรีอยุธยาผู้ลือพระนามในประวัติศาสตร์นั่นเอง แต่ฝรั่งเรียกชื่อไปอีกอย่างหนึ่งว่า ออก พระพิพิธราชา ซึ่งกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ผู้ทรงแปลจดหมายเหตุลาลูแบร์ทรงติงว่า คงจะไม่เป็นความจริงที่ว่า ทรงตั้งออกหลวงสรศักดิ์ เพราะออกหลวงสรศักดิ์นั้นไม่หือในภาษา บาลีจะไปสอบไล่หนังสือพระสงฆ์ได้อย่างไร) ๕. แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ พระมหากษัตริย์ที่ ๓๑ แห่งกรุงศรีอยุธยานี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับการพระศาสนาอยู่ ๒ เรื่อง คือ ๑) พระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงศ์ ไปประดิษฐานที่ประเทศศรีลังกา ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน ประเทศลังกา (ชื่อเดิมของประเทศนี้) ทรงพระนามว่า พระเจ้าเกียรติศิริราช สิงหะส่งราชทูตมาถวายเจริญทางพระราชไมตรี โดยเรือกำปั่นสินค้าชื่อ โอลันชา ของฮอลันดา เพื่อขอพระภิกษุสงฆ์ไทยไปอุปสมบทบวชชาวลังกา อันเป็นเหตุให้เกิดตั้งลัทธิสยามวงศ์ ขึ้นในประเทศลังกาดังมีความตามตำนานเรื่อง ประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งว่า “ในปีมะเมีย โทศก (จุลศักราช ๑๑๑๒) พ.ศ. ๒๒๙๓ พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะ มีรับสั่งให้สามเณรสรณังกร แต่งพระราชสาส์นเป็นภาษามคธถวายสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ ฉบับ ๑ ถวายสมเด็จพระสังฆราชกรุงศรีอยุธยา ฉบับ ๑ แล้วแต่งข้าราชการชาวสิงหฬเป็น ทูตานุทูต ๕ นาย ให้เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเข้ามากรุงศรีอยุธยา” ราชทูตคณะนี้ออกเดินทางจากเมืองสิงขัณฑนคร หรือศิริวัฒนบุรี ราชธานีของ ลังกา เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๙๓ จนถึงวันพุธที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๒๙๔ (ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑๑ เดือน) เรือกำปั่นราชทูตถึงปากน้ำเจ้าพระยา เรือเข้าถึงกรุง ศรีอยุธยา ราชทูตเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ปีเดียวกัน ขณะที่ราชทูตลังกาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตอนนั้น ได้ไปนมัสการพระที่วัดพุทไธศวรรย์ และวัดชัยวัฒนาราม แล้วไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชที่วัดมหาธาตุวราราม ต่อจากนั้นก็ไปชมวัด บรมพุทธาราม (วัดกระเบื้อง = พระเพทราชาทรงสร้าง) วัดป่าโมก เมืองอ่างทอง ชมแห่ พระพยุหยาตราพระกฐิน ณ วัดมหาธาตุกับวัดราชบุรณะ (ตามหนังสือสยามูปสัมปทวัตที่ชาว ลังกาแต่ง เรียกชื่อว่า วัดอุชาโยธรัตนาราม) ก่อนจะกลับลังกาได้ไปหาพระอุบาลีและพระอริยมุนี ซึ่งจะเป็นสมณทูตไปลังกา ทวีปเพื่อประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ ณ วัดธรรมาราม (ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับพระยาโบราณธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เห็นพ้องต้องกันว่าพระอุบาลีกับพระอริยมุนี ศาสน ทูตไทยตามที่ลังกากล่าวชื่อไว้ในจดหมายเหตุของเขาว่า วัดตะละรามะ นั้นได้แก่ วัดธรรมาราม เพราะเป็นวัดใหญ่อยู่ริมแม่น้ำฟากตะวันตก เยื้องหัวแหลมลงมาหน่อย) การที่ลังกาประเทศมีพระราชสาส์นขอพระสงฆ์ไทยไปสืบพระพุทธศาสนาที่ถูก ต้อง มั่นคงครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์โปรดให้ส่งออกไป ๒ ชุด คือ
Page 24
140 ชุดที่ ๑ ได้แก่พระอุบาลีและพระอริยมุนี กับพระสงฆ์อันดับอีก ๑๔ รูป รวม ๑๗ รูป เดินทางไปลังกาทวีป เมื่อ ณ วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๑๔ (พ.ศ. ๒๒๙๕ ปีวอก จัตวาศก) จำนวนพระสงฆ์ชุดนี้ จากจดหมายเหตุของลังกาว่ามี ๑๘ รูป ดังมีรายนามต่อไปนี้ - พระราชาคณะ ๒ รูป ได้แก่ ๑. พระอุบาลี ๒. พระอริยมุนี - พระเปรียญไปเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ๕ รูป ได้แก่ ๑. พระมหานาม ๒. พระมหาบุญ ๓. พระมหาสุวรรณ ๔. พระมหามนิศร์ ๕. พระมหามณี - พระอันดับ ๑๑ รูป เรียกตามนามฉายาว่า ๑. พระพรหมโชติ ๒. พระมณีโชติ ๓. พระจันทรโชติ ๔. พระธรรมโชติ ๕. พระบุญโชติ ๖. พระอินทรโชติ ๗. พระจันทสาระ ๘. พระสิริจันทะ ๙. พระอินทสุวรรณ ๑๐. พระพรหมสร ๑๑. พระยศทิน ขบวนพระสงฆ์ ศาสนทูตไทยที่ไปลังกาทวีปครั้งนี้กว่าจะเดินทางไปถึงนครศิริ วัฒนบุรี ราชธานีของลังกาต้องกลับมากลับไประหว่างทาง ถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา เพราะเกิด อุปสรรคทางธรรมชาติจากวาตภัย เรือโดยสารเสียหายบ้าง เพราะความไม่เรียบร้อยของคณะ ทูตชาวลังกาที่มาในครั้งนั้น บางคนเกิดล้มตายและหนีหายในระหว่างทางบ้าง แต่กระนั้นก็ดี ก็ได้เดินทางไปถึงลังกาทวีปจนได้ ชุดที่ ๒ ได้แก่ พระวิสุทธาจารย์ และพระวรญาณมุนี กับพระสงฆ์อันดับ ๒๐ รูป สามเณร ๒๐ รูป ออกเดินทางเมื่อ ณ วันศุกร์ เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่ำ ปีกุน สัปตศก (จุลศักราช ๑๑๑๗) พ.ศ. ๒๒๙๘ และเหตุที่ต้องส่งไป ๒ ชุดนั้น ก็เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกษฐ ได้ออกพระวาจาสัญญาแก่พระสงฆ์ชุดแรกว่า จะให้อยู่ในลังกาทวีปแต่เพียง ๓ ปี จะนิมนต์พระสงฆ์อื่นออกไปผลัดให้พระสงฆ์ที่ไปก่อนนั้นกลับเข้ามาถึง ๓ คราว จนกว่า พระสงฆ์ชาวลังกาจะถ้วน ๑๐ วัสสา จึงจะเป็นอุปัชฌาย์ให้บรรพชาอุปสมบทได้ ประวัติการพระศาสนาของไทยในครั้งนั้น ถือว่าเป็นการทดแทนที่ไทยเคยนิมนต์ พระสงฆ์ชาวลังกามาตั้งแต่ลัทธิลังกาวงศ์ ในสยามประเทศ แต่ครั้งสุโขทัยและรัชกาลก่อน ๆ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นการแลกเปลี่ยนลัทธิของกันและกัน จึงในครั้งนั้นเอง ลัทธิสยามวงศ์ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในลังกาประเทศ และในเหตุการณ์ครั้งนั้นเอง พระเถระชาวลังกาชื่อ พระ สิทธารถพุทธรักขิต สถิตวัดบุบผารามวิหาร (ที่พระอุบาลีไปอยู่) จึงได้แต่งหนังสือเทิดทูนบุญ คุณของประเทศไทยไว้ในตำนานเล่มหนึ่งเรียกว่า สยามูปสัมปทวัต (โดยแต่งไว้เป็นภาษาสิงหฬ พระยาอรรถการประสิทธิ (คุณดิลก) บิดาคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์แปลออกเป็นภาษาอังกฤษ) ๒) การเกิดวรรณคดีพุทธศาสนา นอกจากเรื่องลังกาขอพระสงฆ์ไทยและไทย ส่งพระสงฆ์ออกไปประดิษฐาน ลัทธิสยามวงศ์ ณ ลังกาทวีปในรัชสมัยนี้แล้ว ในแผ่นดินนี้ยังได้ มีวรรณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นหลายเรื่องด้วยเช่น นันโทปนันทสูตร มาลัยคำหลวง ปุณโณวาทคำฉันท์ และพระราชปุจฉาถามคณะสงฆ์ เรื่องการพระศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามที่กล่าวมาแต่ละรัชกาลนี้นั้น กล่าว เฉพาะเรื่องราวที่เป็นประวัติการณ์สำคัญ ๆ ของแต่ละรัชกาลที่มีบทบาทเกี่ยวกับพระศาสนาที่ ควรนำมากล่าว และที่มิได้ถึงแผ่นดินอื่น ๆ อีกหลายรัชกาลนั้น ก็มิใช่ว่าพระเจ้าแผ่นดินในแผ่น
Page 25
141 ดินนั้น ๆ จะไม่ได้ประกอบพระราชกรณียกิจ เกี่ยวกับพระศาสนาไว้บ้างเลย ตามประวัติศาสตร์ จะปรากฏว่า พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาหรือแม้กรุงสุโขทัย ย่อมได้ประกอบพระราช กรณียกิจในด้านพระศาสนาไว้ทั้งนั้นไม่มากก็น้อย และโดยที่หนังสือเล่มนี้ไม่มีวัตถุประสงค์ที่ เก็บความทั่วถ้วนทุกกระบวนความเป็นแต่เพียงเก็บความแต่ละเรื่องที่เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ๆ เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดีเพื่อมิให้เรื่องราวเกี่ยวกับการพระศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ละ รัชกาลขาดหายไป จึงขอสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับบางเรื่อง ของบางรัชกาลมาสรุปไว้ตอนท้ายนี้ อีกด้วย คือ :- ๑. เกี่ยวกับเจ้านายออกทรงผนวชเป็นการสืบพระราชประเพณี เรื่องเจ้านายในสมัยกรุงศรีอยุธยาออกทรงผนวชเป็นการสืบธรรมเนียมประเพณีที่ พระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านายในราชวงศ์ออกทรงผนวชตามแบบอย่างพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย หรือพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออก ผนวชมาแล้วนั้น ปรากฏว่าเจ้านายในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากพระบรมไตรโลกนาถและ พระรามาธิบดีที่ ๒ แล้วก็ยังมีอีก ๔ พระองค์ คือ :- ๑) พระเจ้าทรงธรรม ซึ่งก่อนเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบแทนพระศรี เสาวภาคย์ ด้วยการชิงราชสมบัตินั้น ได้บวชเป็นพระภิกษุเป็นพระราชาคณะที่ พระพิมลธรรม ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น แต่พระองค์นี้ ตามทางราชการแห่งราชสำนักในสมัยนั้นมิได้ถือว่า เป็น เจ้า แต่อย่างใด เพียงแต่ใช้พระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ อันเป็นพระนามของเจ้านาย เท่านั้นเอง ๒) เจ้าฟ้าตรัสน้อย พระราชโอรสของพระเพทราชา ๓) พระองค์เจ้าบุนนาค พระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระเจ้าเสือ ขุนหลวงสรศักดิ์ ๔) เจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สามพระองค์หลังนี้ ทรงผนวชอยู่จนตลอดพระชนมายุ และมิได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระราชาคณะ” แต่ประการใด ๒. เกี่ยวกับการสร้างวัด พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงสร้างวัดขึ้นแต่ละ รัชกาล ดังนี้ :- ๑) พระเจ้าอู่ทอง พระปฐมบรมกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยาทรงสร้างวัดขึ้น ๒ วัด คือ :- ๑. วัดพุทไธศวรรย์ สร้างขึ้นที่ตำบลเวียงเหล็ก เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๖ (ปัจจุบันนี้ ตำบลที่ตั้งวัดเรียกว่า ตำบลสำเภาล่ม) เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการที่พระองค์ได้เสด็จมาจากเมือง อู่ทอง ตั้งราชธานีศรีอยุธยาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ตำบลนี้หลังจากสร้างพระราชวังใหม่เสร็จ ทรงยกพระราชวังเดิมให้เป็นวัด ๒. วัดป่าแก้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๖ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเจ้าแก้วเจ้าไทย ซึ่งประชวรอหิวาตกโรคสิ้นพระชนม์ให้ขุดพระศพที่ฝังไว้นั้นขึ้นแล้ว พระราชทานเพลิงพระศพ เสร็จแล้วก็ได้สร้างวัดตรงที่พระราชทานเพลิงนั้นเป็น วัดป่าแก้ว วัดนี้ปรากฏตามหนังสือ โบราณวัตถุสถานทั่วอาณาจักร ของกรมศิลปากร มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วัดเจ้าพระยาไทย และพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ เพื่อสำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ที่บวชเรียนมา
Page 26
142 จากสำนักพระวันรัตมหาเถระในลังกาทวีป เรียกกันว่า คณะป่าแก้ว วัดนี้จึงได้นามว่า วัดป่าแก้วด้วย ส่วนนามอีกอย่างหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกกันเป็นสามัญทั่วไปก็คือ วัดใหญ่ชัยมงคล ตั้งอยู่นอกพระนคร (นอกเกาะเมือง) ตำบลที่ตั้งวัดปัจจุบันเรียกว่า ตำบลไผ่ลิง ขึ้นอยู่ในอำเภอกรุงเก่า (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอำเภอพระนครศรีอยุธยา ชาวอยุธยาและผู้รัก ประวัติศาสตร์ชาติไทยไม่นิยมเรียกชื่ออำเภอที่ชื่อใหม่นี้นัก) ๒) แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงสร้างวัดขึ้น ๓ วัดคือ ๑. วัดพระราม โปรดให้สร้างตรงที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้า อู่ทอง พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ หน้าวัดมีบึงใหญ่เดิมเรียกว่า หนองโสน ต่อมาเมื่อสมัย กรุงศรีอยุธยาได้ขุดเอาดินในหนองนี้ขึ้นถมพื้นวัง และพื้นวัดพระมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ วัดพระราม จึงกลายเป็นบึงใหญ่โต บึงนี้มีชื่อปรากฎมณเฑียนบาลว่าบึงชีขันและต่อมาเปลี่ยน ชื่อใหม่เรียกว่า บึงพระราม แต่จะเปลี่ยนเมื่อใดไม่อาจทราบได้ ชื่อนี้ยังคงเรียกกันมาจนถึงทุก วันนี้ ๒. วัดมหาธาตุ อยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ในประวัติศาสตร์ยังสับสนกันอยู่ พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า สมเด็จพระราเมศวร ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๗ แต่ พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า สร้างในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะ งั่ว) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๗ ๓. วัดภูเขาทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๐ อยู่ตำบลภูเขาทอง ห่างจากพระราชวัง ประมาณ ๒ กิโลเมตร ยังไม่พบปรารภเหตุร้าง ๓) แผ่นดินพระบรมราชาที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างวัดขึ้น ๒ วัด คือ :- ๑. วัดราชบูรณะ อยู่ตรงข้ามกับวัดมหาธาตุ พระเจ้าสามพระยาทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๖ ตรงบริเวณที่ เจ้าอ้าย กับเจ้ายี่ พระเชษฐา ทรงชนช้างกันถึงพิราลัย ๒. วัดมเหยงคณ์ ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๗ แต่ไม่ทราบว่าทรงสร้างเพราะ ปรารภเหตุใด วัดนี้ปัจจุบันที่ตั้งวัดเรียกว่า ตำบลบ้านกระมัง อำเภอกรุงเก่า ๔) แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ รัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างวัดขึ้น ๒ วัด ดังได้กล่าวไว้ในรัชกาลของพระองค์ในตอนต้นนั้นแล้ว คือ :- ๑. วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง ไม่มีพระสงฆ์ ๒. วัดจุฬามณี สร้างที่เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ ณ วัดนั้น ๕) แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ รัชกาลที่ ๑๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้าง วัด ๑ วัด คือ :- ๑. วัดหลวงสบสวรรค์ ทรงสร้างที่สวนหลวงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย วัดนี้อยู่ ในเกาะเมืองด้านตะวันตก (ในบริเวณกรมทหารเก่า)
Page 27
143 ๖) แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ รัชกาลที่ ๑๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างวัด ๑ วัด คือ :- ๑. วัดวรเชษฐาราม สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงสร้างอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘ วัดนี้ตั้งอยู่ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า ๗) แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง รัชกาลที่ ๒๔ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างวัด ๒ วัด คือ :- ๑. วัดไชยวัฒนาราม ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๓ ณ บริเวณบ้านเดิมของ พระพันปีหลวง พระเจ้าปราสาททอง อยู่ริมแม่น้ำฝั่งเดียวกันกับวัดพุทไธศวรรย์ สร้างขึ้นด้วย ฝีมือปราณีตงดงามมาก ตั้งใจจะเลียนแบบแผนผังนครวัดที่ประเทศเขมร เนื่องจากคราวสร้าง นั้น ได้ตีเมืองเขมรกลับคืนได้ด้วย ๒. วัดชุมพลนิกายาราม อยู่อำเภอบางปะอิน สร้างเป็นอนุสรณ์ ณ สถานที่ ที่เป็นที่เกิดของพระองค์ จะสร้างปีใดยังหาหลักฐานที่ถูกต้องไม่ได้ ๘) แผ่นดินพระเพทราชา รัชกาลที่ ๒๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างวัด ๑ วัด คือ ๑. วัดบรมพุทธาราม ทรงสร้างขึ้นที่พระนิเวศน์เดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๒ (ก่อนเสวยราชย์) ปัจจุบันตั้งอยู่ตำบลประตูชัย อำเภอกรุงเก่า ๙) แผ่นดินพระเจ้าเสือ รัชกาลที่ ๒๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างวัด ๑ วัด คือ :- ๑. วัดโพธิประทับช้าง จังหวัดพิจิตร นัยว่า เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระองค์ทรง พระราชสมภพ ณ สถานที่ที่สร้างวัดนี้ ๒. เกี่ยวกับกฎหมายและวรรณกรรมในพระพุทธศาสนา เรื่องนี้ ได้กล่าวมาในตอนต้นบ้างแล้วก็ตาม แต่ตามที่กล่าวมานั้น ยังเก็บความไม่ หมด จึงขอนำมาสรุปในเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ทรงตราตัวบท กฎหมายหรือแบบธรรมเนียมกฤษฎีกาว่าด้วยการปกครองสงฆ์ขึ้นในสมัยนั้น รวมทั้งตำรับตำรา อันเป็นวรรณกรรม ทางพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นด้วย ดังจะขอสรุปเพิ่มเติมจากที่ กล่าวมาแล้วอีกดังนี้ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Page 28
144 สมัยกรุงธนบุรี การพระศาสนาในสมัยกรุงธนบุรีนั้น แม้อายุของกรุงจะมีเพียง ๑๕ ปี และตลอดเวลา ๑๕ ปีนั้น ก็เต็มไปด้วยการสลัดแอกจากพม่า การรวบรวมชนชาติตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ การรบพุ่งขับไล่ข้าศึก และการขยายพระราชอาณาเขต เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เกือบไม่มีเวลาว่างเว้น ที่องค์พระมหากษัตริย์ธงชัยของชาติ มิ่งขวัญของประชาชนชาวไทย ในยุคบ้านแตกสาแหรกขาดก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงจัดการในเรื่องการพระศาสนาให้เข้ารูปเข้ารอย ฟื้นฟูความเสื่อมโทรม เพราะยุทธภัยจากพม่าข้าศึก ในด้านต่าง ๆ ทรงขวนขวายอย่างมากที่จะ ตั้งสังฆมณฑล ให้คืนคงตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา อันเป็นคุณานุประโยชน์ หลายอย่าง หลายประการ เช่น ๑. โปรดให้สถาปนาวัดวาอาราม ที่ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม พระเจ้าพระสงฆ์ กระจัดกระจายและย่อหย่อน ๒. แสวงหาพระสงฆ์ที่มีคุณธรรม ความรู้มาตั้งเป็นพระราชาคณะเป็นเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ และสั่งสอนปริยัติธรรมและภาษาไทย อย่างเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้เพราะ ครั้งนั้น การแสวงหาผู้ที่ทรงคุณธรรมจริง ๆ นับว่ายากมาก ๓. ส่งพระราชาคณะออกไปเที่ยวจัดสังฆมณฑลตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ เพราะเกิด วิปริตครั้งเจ้าพระฝางตั้งตัวเป็นใหญ่ และทำสงครามทั้งเป็นพระ ๔. ทรงขวนขวายสืบแสวงหาพระไตรปิฎกมารวบรวมไว้ เพราะถูกพม่าเผากรุงและเผา วัดวาอารามตามหัวเมือง ทำลายพระไตรปิฎกเสียจนเกือบสิ้นเชิง ซึ่งในที่สุดก็ได้มาจากเมือง นครศรีธรรมราชบ้าง จากเมืองเหนือบ้าง เมืองเพชรบุรีบ้าง และนำมารวบรวมไว้ในกรุงธนบุรี เรื่องการสืบแสวงหาพระไตรปิฎกนี้ พระองค์ได้ส่งคนไปแสวงหาถึงกรุงกัมพูชาก็มี ๕. ทรงให้ราชบัณฑิตคัดลอกพระไตรปิฎก ฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อคราวเสด็จไปปราบเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อคัดลอกแล้ว โปรดให้นำฉบับเดิมส่งคืนเมือง นครศรีธรรมราช ๖. เมื่อทรงเสาะแสวงหาพระราชาคณะผู้ทรงคุณธรรม พอตั้งสังฆมณฑลได้แล้ว จึงทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชขึ้น ได้ความตามตำนานคณะสงฆ์ว่า ทรงสถาปนา พระอาจารย์ดี เดิมอยู่วัดประดู่ ในกรุงศรีอยุธยา เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรก องค์ที่ ๒ ได้แก่ พระอาจารย์สี เดิมอยู่วัดพระเจ้าพนัญเชิง กรุงศรีอยุธยา และองค์ที่ ๓ ชื่อชื่น เป็นเจ้าคณะ เมืองระยอง สมเด็จพระสังฆราชสมัยกรุงธนบุรีทั้ง ๓ องค์ ที่กล่าวมานนี้ สมเด็จกรมพระยาดำ รงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ในตำนานคณะสงฆ์ว่า องค์ที่ ๑ และที่ ๒ เดิมเป็นเพียง พระอาจารย์ มิได้มีสมณศักดิ์แต่อย่างใด ต่อมา เมื่อถึงองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระสังฆราชชื่น เดิมเป็นเพียง พระครูที่ พระครูสุธรรมธิราชมหามุนี ต่อมาเมื่อถึงรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ต้องลดยศ ลงมา เป็น พระครูธรรมธิราชมหามุนี ว่าที่ วันรัต
Page 29
145 สำหรับสมเด็จพระสังฆราช สี หรือ ศรี สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๒ แห่งกรุงธนบุรี นี้ ต่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้รับ สถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๗) แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ แต่การทำนุบำรุงสังฆมณฑลในครั้งกรุงธนบุรี ชองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยัง ไม่ทันจะมั่นคงได้เท่าใด ก็เกิดวิบัติด้วยเหตุสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีสัญญาวิปลาส ทำให้สังฆ มณฑลกลับเสื่อมโทรมลงไปอีก ดังปรากฏอยู่ในพงศาวดารนั้นแล้ว พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอินทาราม กรุงเทพมหานคร
Page 30
146 สมัยรัตนโกสินทร์ สมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม และมี การสร้างวัดใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น ๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๒. วัดอรุณราชวราราม ๓. วัดราชโอรสาราม ๔. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ๕. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ๖. วัดบวรนิเวศวิหาร ๗. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๘. วัดสุทัศนเทพวราราม ๙. วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก องค์กรทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่กรมการศาสนาให้การสนับสนุนมี ดังนี้ ๑. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ๖๑๖ แยกซอยเมธีนิเวศน์ ถ.สุขุมวิท ๒๔ เขตคลองเตย กรุงเทพ ฯ ๑๐๑๑๐ ๒. พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๔๔ ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพ ฯ ๑๐๒๐๐ ๓. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งพระเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๕๘/๘ ซอยเพชรเกษม ๕๔ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ ๑๐๑๖๐ ๔. สภายุวพุทธิสมาคมแห่งชาติ ๖๑/๒๑ ซอย ๒๐๗ ถนนเสนานิเวศน์ เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ ๕. เปรียญธรรมสมาคม วัดสามพระยา แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ ๖. มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ อยู่ในบริเวณวัดสระเกศ เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐ ๗. องค์กรเครือข่ายภาคราชการและภาคประชาสังคม ๘๔ องค์กร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
Page 31
๒ ศาสนาอิสลาม
Page 32
148 มัสยิดศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติกรุงเทพมหานคร
Page 33
149 ความเป็นมาของศาสนาอิสลามในประเทศไทย ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ ๑ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑ มีคำว่า ปสาน ซึ่งหมายถึง ตลาดขายของแห้งและเชื่อกันว่ามาจากศัพท์เปอร์เชีย บาซาร์ (Ba-za-r) หรือมลายู ประสัร ซึ่ง เพี้ยนมาจาก บาซาร์ ข้อความในศิลาจารึกมีว่า “เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มี พระอัจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากลาง มีไร่มีนา มีถิ่นมีฐานมีบ้านใหญ่ บ้าน เล็ก...” ใน “ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์”ท่านกาญจนาคพันธ์เขียนว่า “นับเพียงชั้นสุโขทัยที่เกิดศาสนา อิสลามขึ้นแล้ว แขกมะหะหมัดที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยเรา เรารู้ไม่ได้ว่าเป็นชาติไหน ภาษาไหน ว่า โดยเฉพาะภาษาหรือชาติอาหรับตามโคลงภาพวัดโพธิ์ที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ จะได้เคยติดต่อ หรือเข้ามาอยู่เมืองไทยเก่าแก่มาแล้วอย่างไร ก็ไม่มีทางทราบได้ แต่เมื่อว่าถึงถ้อยคำหรือภาษา ที่มีปรากฏเป็นหลักฐานว่าเป็นภาษาแขกใช้เก่าแก่ที่สุดนั้น ก็ได้แก่คำว่า “ปสาน” มีอยู่ในหลัก ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง คำ “ปสาน” นี้ ศาสตราจารย์ ยอร์ชเซเดส์ ให้คำอธิบายว่า “ตลาดมีห้องแถว ภาษาเปอร์เชียว่า บาซาร์” แปลว่า ตลาดที่ตั้งประจำ หรือถนนที่มี ห้องเป็นร้านค้า ในภาษาไทยเขียนคำนี้หลายอย่าง เช่น ในศิลาจารึกเขียน “ตลาดปสาน” เพี้ยน มาในยุคหลัง ๆ เขียน “ตลาดยี่สาน” ลักษณะตลาดของไทยสมัยโบราณกล่าวกว้างๆ เห็นจะมี ๒ อย่าง คือ ตลาดที่ตั้งประจำที่อย่างหนึ่ง กับตลาดตั้งชั่วครั้งชั่วคราว อย่างที่เรียกว่า “ตลาด นัด” อีกอย่างหนึ่ง หลักฐานเหล่านี้แสดงว่า ได้มีการค้าขายระหว่างกรุงสุโขทัยกับมุสลิมมาช้านานทีเดียว อย่างไรก็ตามนับเป็นเรื่องที่เมืองไทยเรายังไม่มีประวัติศาสตร์แน่ชัดลงมาก็จัดได้ว่า ความ สัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นมีอยู่ตลอดมา ดูตามประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏว่าในยุดนั้นคนไทยเป็นชาติที่เดินเรือเก่ากล้าอะไรนัก เพราะ ฉะนั้นเรือสินค้าในสมัยนั้นน่าจะสันนิษฐานว่า เป็นของพวกอาหรับและเปอร์เชียมากกว่า และ การค้าในสมัยนั้นย่อมชักจูงให้มุสลิมมาตั้งหลักแหล่งในกรุงสุโขทัยเป็นธรรม แม้แต่ คนเดินเรือทะเลของหลวงในสมัยอยุธยาก็ใช้แต่คนเชื้อสายพวกแขกมลายูเป็นพื้น “ถึงพวกจาม และชวา มลายู แม้ที่สุดจีนก็คงไปมาถึงกันแต่ก่อนมาช้านาน อิสลามในสมัยอยุธยา เป็นธรรมดาอยู่เองเมื่อบรรดามุสลิมได้ตั้งรกรากอยู่แต่ครั้งกรุง สุโขทัยก็ย่อมสืบเชื้อสายมาในสมัยอยุธยาด้วย เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกเพลิงเผาพินาศคราวเสีย กรุงครั้งที่ ๒ แก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เราจึงมีหลักฐานต่าง ๆ เหลือน้อย ภาพลายรดน้ำบนบาน ตู้ใบหนึ่งในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติปัจจุบันนี้ ซึ่งเข้าใจว่าได้เขียนไว้ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ แสดงภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และอีกภาพ ซึ่งเข้าใจว่าเป็น กษัตริย์เอารังซีบแห่งวงศ์โมกุล (Mughal) อินเดียนั้น เป็นเรื่องน่าทึ่ง เพราะรัชกาลของ กษัตริย์เอารังซีบเริ่มแต่พ.ศ. ๒๒๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๒๕๐ รวมราว ๕๐ ปีประสูติเมื่อ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๑๖๑) ส่วนของพระนารายณ์มหาราช เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๒๐๐ ถึง พ.ศ. ๒๒๓๑ ศาสนาอิสลาม
Page 34
150 รวมเวลา ๓๒ ปี และของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นั้น พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘๑ และ สวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๘ จะเห็นได้ว่ารัชสมัยของกษัตริย์สามองค์นี้ไล่เลี่ยกันพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ทรงให้คณะทูตมาเจริญพระราชไมตรี และเพื่อจะชักชวนให้นับถือศาสนาคริสต์ด้วย ในระหว่างนั้นราชทูตของพระเจ้าชาฮฺแห่งเปอร์เชียร์ก็มาถึง และพำนักอยู่ในกรุง จนมีข่าวลือ ว่าจะมาชักชวนพระนารายณ์มหาราชให้นับถือศาสนาอิสลาม หากภาพนี้มิใช่ของกษัตริย์เอารังซี บก็น่าจะเป็นของชาฮฺสุลัยมานแห่งวงศ์เศาะฟะวี เพราะรัชสมัยตรงกัน (พ.ศ. ๒๒๑๐-๒๒๓๓) และมีการติดต่อกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ด้วย อย่างไรก็ดีเป็นเรื่องน่าทึ่งที่มีภาพลายรดน้ำเช่น นั้นบนบานตู้หนังสือของหลวง ความจริงก่อนหน้านี้ที่คลองบางกอกใหญ่ได้มีมุสลิมตั้งภูมิลำเนาค้าขาย อยู่บกก็มี อยู่แพก็มีมาแล้วเช่นกัน ในสมัยนั้นไทยมุสลิมเรียกมัสญิดของตนว่า กุฎี และบางครั้งก็เพี้ยน เป็นกะฎีหรือเขียนเป็นกะดี กล่าวกันว่าชาวไทยมุสลิมที่คลองบางกอกใหญ่นั้นมีมาก่อนสมัย พระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓-๒๑๗๑) กระดานจารึกอักษรอฺรับซึ่งถูกไฟไหม้บางส่วนครั้ง อยุธยาเสียกรุงลอยน้ำมา และชาวคลองบางกอกใหญ่เก็บรักษาไว้ที่มัสญิดต้นสนจนบัดนี้นั้น ก็เป็นหลักฐานอีกประการหนึ่ง นอกจากตำรับตำราและวรรณกรรมส่วนมากถูกเผาหรือสูญหายในระหว่างเสียกรุง ศรีอยุธยาแล้ว หนังสือที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามก็มีน้อย เพราะด้วยไม่มีการพิมพ์หนังสือ แพร่หลาย เมื่อปลายเดือนกันยายนและต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ กรมศิลปากรได้ขุดกรุ พระปรางค์ที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสร้างในแผ่นดินพระเจ้าสามพระยา คือ พระบรมราชาธิราชที่ ๒ ผู้เสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๑ สวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ อันเป็น สมัยต้น ๆ ของกรุงศรีอยุธยาในบรรดาต่าง ๆ ที่ได้พบมีเหรียญทองอยู่ ๒ อัน มีอักษรจารึกไว้ ด้านหนึ่งว่า สุลฏอนอัลอฺาดิล และอีกด้านหนึ่งว่าซัยนุลอฺาบิดีนมะลิก ปรากฏว่าเป็นเหรียญ ทองคำที่ทำขึ้นในประเทศแคชเมียร์ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมุสลิม ตรงกับสมัยเจ้าสามพระยา หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ คำว่า จุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งฝ่ายมุสลิมให้ข้อปรึกษาด้านศาสนาอิสลามแก่ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมขณะนี้ ก็มีประวัติมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ในทำเนียบศักดินา ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีทำเนียบตำแหน่งขุนนาง ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า “กรมท่าขวา” มี “พระจุลาราชมนตรี” เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ “หลวงโชฎึกราชเศรษฐี” หัวหน้าฝ่ายจีน เมื่อพวกฮอลันดาเข้ามา คงจะเห็นว่าพวกแขกได้หลายพวกแล้ว ก็เลยแยกพวก ฮอลันดามาไว้กับฝ่ายจีนเสียบ้าง และได้เติมคำว่า “ได้ว่าวิลันดา” ลงไป พอสันนิษฐานได้ว่า ตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๒๐๓๑) จะต้องมีพวกแขก เช่น เปอร์เชีย หรืออฺรับ หรือพวกอินเดีย เข้ามาอยู่แล้ว จึงมี การกล่าวถึงพวกนักเทศขันที แล้วก็มีตำแหน่งพระจุลาราชมนตรี ในทำเนียบกรมภูษามาลามีชื่อ แขกจริง ๆ ปรากฏอยู่ ๔ คน เป็นพวกช่างขุนชื่อ นายเวระกู นายครูป่า นายประหม่านันตี และ นายเอระกะปี่ ถือศักดินาคนละ ๕๐ ไร่
Page 35
151 ต่อจากสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) ลงมา๕ แผ่นดิน ถึงแผ่นดินพระยอดฟ้า (พ.ศ. ๒๐๘๙-๒๐๙๑) มีเรื่องยุ่งเกี่ยวกับขุนวรวงษาธิราช คือ ขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ ชาวบ้านลานตากฟ้า แขวง เมืองสุพรรณบุรี ราชทินนาม “หลวงศรียศ” นี้ เท่าที่ได้พบในสมัยหลัง ๆ ปรากฏว่าเป็น ตำแหน่งขุนนางแขก เช่นในแผ่นดินพระเอกาทศรถ (พ.ศ. ๒๑๔๘-๒๑๖๓) มีพวกฮอลันดาเข้ามา มีชื่อ “ออกขุนศรียศ” เป็นผู้หนึ่งที่มีหน้าที่ติดต่อกับพวกอังกฤษ มาถึงแผ่นดินพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖) มีเยอรมันชื่อหมอแกมป์เฟอร์เข้ามา เขียนเล่าตอนจะไปหาพระยาพระคลัง (คือโกษาปาน) ก็ว่า มีขุนนางชื่อ “ออกพระศรียศ” เป็น ผู้นำไป บอกว่า ออกพระศรียศเป็นขุนนางแขกอินเดีย ถือศาสนาอิสลามเป็นหัวหน้าพวกแขก มัวร์ แต่งตัวเป็นแขกมีผ้าโพกหัว เวลามาติดต่อมีขุนนางแขกมาด้วย ๒ คน ขุนนางจีนคนหนึ่ง ขุนนางไทย ๒ คน ตามที่หมอแกมป์เฟอร์เขียนนี้ แสดงว่า เป็นพวกกรมท่า ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับ แขกเมืองออกพระศรียศอาจจะเป็น “ปลัด” หรือ “เจ้าท่า” เพราะในตอนหลังหมอแกมป์เฟอร์ เล่าถึงตำแหน่งขุนนางได้ออกชื่อ “พระยาจุลา” อีกคนหนึ่ง ในคำให้การของขุนหลวงหาวัดก็ว่ามีตำแหน่ง “หลวงศรียศ” อยู่ในทำเนียบขุนนางแขก เป็นแม่กองแขก ดังนี้ หลวงศรียศ ที่มาร่วมคิดกับขุนพิเรนทรเทพคงจะเป็นแขกแท้ หรือเป็น เชื้อแขกเกิดที่บ้านลานตากฟ้า ก็ได้ แล้วมารับราชการในกรุงราชทินนามแขกมักจะมีคำว่า “ศรี” นำหน้า เช่นในกรมขันทีมีพระศรีมโนราช หลวงศรีมโนราช ในกรมท่าชั้นหลังมี “หลวงศรีวร ข่าน” (รองพระจุลา) ในขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนซื้อม้าสีหมอก มีกลอนว่า “จะกล่าวถึงหลวงทรงพลกับพันภาณ พระโองการตรัสใช้ไปตะนาวศรี ไปตั้งอยู่มฤทเป็นครึ่งปี กับไพร่สามสิบสี่ที่ตามไป ด้วยหลวงศรีวรข่านไปซื้อม้า ถึงเมืองเทศยังช้าหามาไม่ ต้องรออยู่จนฤดูแล่นใบ เรื่องที่ไปเมืองเทศจึงกลับมา” ในสมัยที่การค้าเจริญรุ่งเรือง เจ้าเมืองมะริด (ฝรั่งเรียก Maugui) และตะนาวศรีมัก เป็น “แขก” เพราะพวกนี้ชำนาญการค้า หลวงทรงพลนั้นเป็น“เจ้ากรมพระอัศวราช” โดยตรง แต่ที่ใช้ “หลวงศรีวรข่าน” ไปซื้อก็เพราะ “หลวงศรีวรข่าน” เป็นแขก ตำแหน่ง “ศรีวรข่าน” ในทำเนียบชั้นหลังเป็นรองพระจุลา แต่สูงกว่าตำแหน่ง ศรียศ ว่าตามพงศาวดาร ขุนนางแขกที่มีตัวปรากฏเป็นเรื่องรามขึ้น เห็นจะเป็นหลวงศรียศใน สมัยพระยอดฟ้านี้เป็นคนแรก ต่อมาในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิได้เป็นเจ้าพระยามหา เสนาบดีต่อจากแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แขกที่เข้ามาเมืองไทยมีชื่อเสียงปรากฏแน่ชัด เป็นแขกอฺรับชื่อ “เฉกอะหมัด” กับ “มหะหมัดสุอิด” เฉกอะหมัดเป็นพี่ มหะหมัดสุอิดเป็นน้อง
Page 36
152 เข้ามาทำการค้าขายเมือง พ.ศ. ๒๑๔๕ ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓- ๒๑๔๘)ตามเรื่องว่าได้พามุสลิมเข้ามามากได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ท่ากายีอยู่ใต้วัดสวนหลวงลงมา ทางริมแม่น้ำเยื้องปากคลองคูจาม ในข้อนี้ ชัยคือ อะหฺมัด และ มุหัมมัด สะอีด (ไม่ใช่สุอิด) เป็นชาวเปอร์เชียไม่มีอฺรับ เพราะทำเลท่ากายีนั้นเป็นถิ่นฐานของพวกแขกเจ้าเซ็น ท่านผู้นี้เป็นต้นตระกูล “บุนนาค” ความละเอียดมีแจ้งอยู่ในหนังสือ “เฉกอะหมัด” ฉบับของพระยาโกมารกุลมนตรี ชาวเลียร์เดอโชมองต์เป็นราชทูตฝรั่งเศสมาถึงปากน้ำ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๘ กล่าวว่า มีขุนนางไปต้อนรับที่เรือรบปากน้ำ ๔ คน มีพระยาพิพัฒโกษา พระยา ไตรภพสิงหนาถ เจ้าเมืองธนบุรี (เป็นโปรตุเกส) พระจุลาราชมนตรี และหลวงโชฎึกราชเศรษฐี ในสมัยพระนารายณ์ฯ เห็นจะมีขุนนางแขกทุกภาษา เช่น เปอร์เชีย อฺรับ มลายู ชวา จาม พวกเปอร์เชีย อฺรับ และอินเดียเป็นพ่อค้า ส่วนมากคงมารับราชการทรงพระคลัง เช่น ตำแหน่ง พระศรีเนาวรัตน์ และทางกรมท่า เช่น พระจุลาราชมนตรี ขุนราชเศรษฐี หลวงศรีวรข่าน หลวงศรียศ ฯลฯ พวกเจ้าเมืองที่เป็นท่าค้าขายสำคัญ เช่น มะริ ตะนาวศรี ในสมัยนั้นก็เป็นแขก เปอร์เชียหรืออินเดียทางตอนใต้ พวกมลายูคงรับราชการทางทหาร เช่น ตำแหน่งพระยา ราชวังสัน (หรือบังสัน จากหะสัน) ว่าตามที่ได้เห็นในหนังสือฝรั่ง ขุนนางแขกพวกนี้เป็นแขกแท้ คือ แต่งตัวเป็นแขก สรุปความที่กล่าวแล้วแต่ต้น ภาษาหรือชาติที่เราเรียกว่า “แขก” คือ พวกที่นับถือ ศาสนาอิสลามนั้น ได้มีความสัมพันธ์กับชาวไทยมาอย่างน้อยก็นับแต่สมัยสุโขทัยจะเป็นแขก เปอร์เชีย อฺรับ หรืออินเดียก็ตาม พิจารณาเรื่องเสื้อผ้า การใช้เครื่องหอม หรือภาชนะต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเปอร์เชียหรือที่เปอร์เชียได้จากภาษาอฺรับ ยิ่งเน้นหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าประเทศ ไทยเรามีสัมพันธไมตรีกับพวกนี้มาช้านาน และลูกหลานของพวก “แขก” ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของพลเมืองไทยเป็นคนไทย สืบเชื้อสายกันมาหลายร้อยปี ในปัจจุบันมุสลิมได้ตั้งหลักแหล่งของตนในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยมีที่มา และเหตุผลอันแตกต่างกันออกไป มุสลิมได้เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดย มีผู้ขุดพบเหรียญจารึกภาษาอาหรับ ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มุสลิมได้เข้ามามี บทบาทอย่างมากมายดังกล่าวไว้แล้ว ในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีมุสลิมจำนวนหนึ่งอพยพมาจากมลายูโดยถูกจับเป็นเชลย ของกองทัพไทยเป็นต้น ตระกูลของชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ เช่น สี่แยกบ้านแขก พระโขนง มีนบุรี นนทบุรี เป็นต้น บางส่วนก็ตั้งรกรากอยู่ในถิ่นกำเนิดเดิมของตน แต่ไทยได้ปกครองท้องถิ่นนั้นมาแต่เดิม เช่น จังหวัดต่าง ๆ ของชายแดนภาคใต้ เป็นต้น บางส่วนอพยพมาจากอินโดนีเซียด้วยเงื่อนไขทางการค้า ประมาณสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้ง รกรากอยู่ในปัจจุบันนี้ที่ทุ่งวัดดอน มักกะสัน ลุมพินี เป็นต้น บางส่วนเป็นเชื้อสายอินเดียที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ประกอบอาชีพมีอยู่ที่ฝั่ง พระนคร และธนบุรี
Page 37
153 บางส่วนเป็นคนจีนมาจากมณฑลยูนานแผ่นดินใหญ่จีน หลังการปฏิวัติใหญ่เปลี่ยนแปลง ระบบการปกครองและมาตั้งรกรากอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ตาก เป็นต้น บางส่วนเป็นชาวอาหรับได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งประกอบการค้าในตัวเมืองใหญ่ ๆ เช่น ในกรุงเทพฯ ปัตตานี หาดใหญ่ เป็นต้น การบริหารกิจการอิสลามในประเทศไทย การบริหารกิจการอิสลามในประเทศไทยนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์กรศาสนา อิสลาม พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้กำหนดรูปแบบการบริหารไว้เป็นคณะกรรมการซึ่งมีอยู่ ๓ ระดับ คือ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการ อิสลามประจำมัสยิด โดยมีจุฬาราชมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากบุคคลที่ผ่านการ คัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้เสนอ จุฬาราชมนตรี ตำแหน่งประมุขสูงสุดของศาสนาอิสลามในประเทศไทย คือ จุฬาราชมนตรี ตำแหน่งนี้ ปรากฏมีครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา และมีสืบมาจนกระทั่ง ปัจจุบันนี้ตามพระราชพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๔๐ มาตรา ๖ พระมหากษัติริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามใน ประเทศไทย และให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เดิมเป็นตำแหน่งข้าราชการในสำนักราชเลขานุการในพระองค์ เทียบเท่าตำแหน่งหัวหน้ากอง (ตามกฎฉบับที่ ๑๔๖ และ ๑๔๗ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘) พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนตามพระราชอัธยาศัยมีหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกาว่า ด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. ๒๔๘๘ มาตรา ๓ ซึ่งบัญญัติว่า“ให้จุฬาราชมนตรี มีหน้า ที่ปฏิบัติราชการส่วนพระองค์เกี่ยวแก่การที่จะทรงอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม” ต่อมาได้มีพระราช กฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่าย อิสลาม พ.ศ. ๒๔๘๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรี เพื่อให้คำปรึกษาแก่กรมการศาสนาในกระทรวง ศึกษาธิการเกี่ยวแก่การศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม และให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตาม สมควร” จากการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทำให้ฐานะของจุฬาราชมนตรี พ้นจาก ตำแหน่งข้าราชการในพระองค์ไปรับเงินอุดหนุนจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันเป็นกระทรวงวัฒนธรรม เปลี่ยนโดยพระราชกฤษฎีกา แก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้อง กับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕) ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนา อิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการศาสนูปถัมป์ฝ่ายอิสลามอิสลาม พ.ศ. ๒๔๘๘ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ และให้ใช้มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการ
Page 38
154 ศาสนาอิสลามในประเทศไทย มาตรา ๘ จุฬาราชมนตรี มีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือเสนอความ เห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม สำหรับตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเท่าที่มี ปรากฏตามหลักฐานจนถึงจุฬาราชมนตรีคนปัจจุบัน รวม ๑๗ คน คือ ๑. เจ้าพระยาวรราชนายก (เฉกอะหะมัด) เป็นชาวเปอร์เซียร์ เป็นมุสลิม นิกายชีอะห์ อิสนาอะซะรี ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๐๔๕-๒๑๗๐) และต่อมาถึงรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๑๙๘) กรุงศรีอยุธยา ๒. พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เป็นหลานของเจ้าพระยาบวรราชนายก ดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๒๕) กรุงศรีอยุธยา ๓. พระยาจุฬาราชมนตรี (สน) เป็นบุตรของเจ้าพระยาศรีไสย หาญณรงค์ (ยี) ในสาย สกุลของท่านเฉกอะหมัด ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๐๑) กรุงศรีอยุธยา ๔. พระยาจุฬาราชมนตรี(เชน) เป็นบุตรเจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ) ในสายสกุลของ ท่านเฉกอะหมัด ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร กรุงศรีอยุธยา ๕. พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว-มุฮัมมัดมะอ์ซูม) เป็นบุตรจุฬาราชมนตรี (เชน) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กรุงรัตนโกสินทร์ ๖. พระยาจุฬาราชมนตรี (อากาหยี่) เป็นน้องชายของพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าภาลัย กรุงรัตนโกสินทร์ ๗. พระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน-มุฮัมมัดกาซิม) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ๘. พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย-มุฮัมมัดบาเกร) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (อากาหยี) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๙. พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม-มุฮัมมัดตะกี) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๐. พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน-กุลาฮูเซ็น) เป็นบุตรพระยา จุฬาราชมนตรี (นาม) ดำรง ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๑. พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยา จุฬาราชมนตรี (สิน) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้รับ พระราชทานนามสกุล“อหะมัดจุฬา” เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๕๖ ๑๒. พระยาจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยา จุฬาราชมนตรี (สิน) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๓. พระยาจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยา จุฬาราชมนตรี (สัน) ดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๔. พระยาจุฬาราชมนตรี แช่ม พรหมยงค์ (ซัมซุดดีน มุสตาฟา) เป็นมุสลิมนิกายสุนนี
Page 39
155 คนแรก ที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล (พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐) ๑๕. จุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสตร์ (อิสมาแอล ยะห์ยาวี) เป็นมุสลิมนิกายสุนนี คนที่ ๒ ที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๒๔ ๑๖. จุฬาราชมนตรี ประเสริฐ มะหะหมัด (อะหมัด บินมะหะหมัด) เป็นมุสลิมนิกายสุนนี คนที่ ๓ ที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๔๐ ๑๗. จุฬาราชมนตรีสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการอิสลามประจำ จังหวัด จำนวน ๒๙ จังหวัด และได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ มีชื่อภาษาอาหรับว่า “อะหมัด มะห์มุด ซีสกร” นับเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ ๑๓ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ สถานที่ทำการของจุฬาราชมนตรีปัจจุบัน คือ อาคารหอประชุมศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ เลขที่ ๔๕ หมู่ ๓ ถนนคลองเก้า แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๐๒ ๙๔๙ ๔๒๗๘-๘ โทรสาร ๐๒ ๙๔๙ ๔๒๒๐ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนคณะกรรมการ อิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นที่คัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมี จำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด การแต่งตั้งและ ถอดถอนโดยพระบรมราชโองการ ตามคำเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม และ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๓ จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลามและมีมัสยิดตามมาตรา ๑๓ ไม่น้อยกว่าสามมัสยิด ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วยคณะกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคน แต่ไม่เกิน สามสิบคน มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการ จังหวัด แต่งตั้งและถอดถอนโดยกระทรวงมหาดไทย
Page 40
156 คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มัสยิด เป็นสถานที่ซึ่งผู้นับถือศาสนาอิสลามใช้ประกอบพิธีกรรมตามลัทธิศาสนา อิสลามในวันศุกร์และมัสยิดใดเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย แล้ว มีฐานะเป็นนิติบุคคล ่ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐ ให้มี คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคณะหนึ่ง ประกอบด้วยอิหม่ามมัสยิดเป็นประธานกรรมการ คอเต็บเป็นรองประธานกรรมการ บิหลั่นเป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นตาม จำนวนที่ที่ประชุมสัปปุรุษประจำมัสยิดกำหนดจำนวนไม่น้อยกว่าหกคน แต่ไม่เกินสิบสองคน กรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี มีหน้าที่บำรุงรักษามัสยิด ทรัพย์สินของมัสยิด วางระบียบภายในมัสยิดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสนับสนุน อบรมสั่งสอนสัปปุรุษในการปฏิบัติศาสนกิจให้กูกต้องเคร่งครัด แผนผัง โครงสร้างการบริหารงานกิจการศาสนาอิสลาม จุฬาราชมนตรี คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด สัปบุรุษ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กรมการปกครอง กรมการศาสนา กรมการจังหวัด
Page 41
๓ ศาสนาคริสต์
Page 42
158 โบสถ์อัสสัมชัญ สีลม กรุงเทพมหานคร
Page 43
159 ความเป็นมาของศาสนาคริสต์ในประเทศไทย คริสตศาสนามีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันตก (อิสราเอลในปัจจุบัน) และแผ่ขยายไปตาม ทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก ในเอเชียตะวันออกไกลนั้น คริสตศาสนาได้ถูกนำมาเผยแพร่โดยคณะผู้สอน ศาสนา (Missionary) ที่ติดตามมาพร้อมกับการค้าขายและการล่าอาณานิคม เพื่อเหตุผลบาง ประการในทางการเมืองและการปกครองในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ โปรตุเกส สเปน และเนเธอร์แลนด์ โปรตุเกสและสเปนได้นำเอาคริสตศาสนามาเผยแผ่ให้กับดินแดน ที่เข้าครอบครองมากที่สุด ทำให้ประเทศที่เดิมเคยถูกสเปนและโปรตุเกสปกครองมานั้นมี ผู้นับถือคริสตศาสนามาก และมีวัตถุก่อสร้างโบราณซึ่งเป็นโบสถ์ และศาสนสถานหลงเหลือ เป็นร่องรอยของประวัติศาสตร์เหล่านั้นมากมาย เช่น ในฟิลิปปินส์ มาเก๊า ติมอร์ ฯลฯ นอกจากนั้นในสมัยต่อมา ฝรั่งเศสก็ได้เดินทางมาหาอาณานิคมในดินแดนแถบนี้ด้วย จนได้ เวียดนาม กัมพูชา และลาวเป็นเมืองขึ้น ฝรั่งเศสเองก็ได้ทำอย่างเดียวกับโปรตุเกสและสเปน คือ นำเอาคริสตศาสนา (นิกายโรมันทาคอลิก) มาเผยแพร่ แต่ไม่ได้รับการต้อนรับเท่าไรนัก ทำให้อิทธิพลของศาสนาในประเทศเหล่านี้มีน้อย มีผู้นับถือไม่มากเหมือนดินแดนที่เคยอยู่ใน การปกครองของโปรตุเกสและสเปน ส่วนประเทศไทยนั้น ไม่ได้มาในรูปแบบของเหล่าอาณานิคม คริสตศาสนาถูกนำเข้ามา ในรูปของการเผยแพร่ศาสนาแก่คนทั่ว ๆ ไป และในรูปของผู้สอนศาสนาให้กับบรรดาชาวต่าง ชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโปรตุเกส ที่มาจากการค้าขายและตั้งหลักแหล่งอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เสียเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ คริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ก็ได้มีบทบาท เข้าสู่ประเทศไทย นอกจากจะได้ทำการเผยแพร่ศาสนาของตนแล้ว ยังได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้ แก่ประเทศไทยเป็นอันมาก เช่น การศึกษา การแพทย์ และการสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยรับรองศาสนาคริสต์ ๒ นิกาย คือ คาทอลิก และโปรเตสแตนท์ และมีการรับรองในฐานะองค์การทางศาสนาคาทอลิก มีสภาประมุขแห่งบาทหลวง โรมันคาทอลิกเป็นศูนย์กลาง แบ่งการปกครองเป็น ๑๐ เขตมิซซัง คือ มิซซังกรุงเทพ ราชบุรี สุราษฎร์ธานี จันทบุรี เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุบลราชธานี ท่าแร่–หนองแสง อุดรธานีและ นครราชสีมา ส่วนนิกายโปรเตสแตนท์มี ๔ องค์การ คือ สภาคริสตจักรในประเทศไทย สหกิจ คริสเตียนแห่งประเทศไทย คริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ และคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส แห่งประเทศไทย ศาสนาคริสต์
Page 44
160 ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ความเป็นมา พ.ศ. ๒๐๕๔ อัลฟองโซ อัลยูเกิร์ก อุปราชโปรตุเกสที่อินเดีย ยึดแหลมมะละกาได้ใน พระนามของพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกส ได้ส่งตัวร์เต เฟอร์นันเดส เป็นหัวหน้าคณะทูต เข้ามาเฝ้าพระมหากษัตริย์ไทยตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๑๑๐ มิชชันนารีหรือนักบวชธรรมทูตต่างประเทศรุ่นแรกที่รู้จักกันในประเทศไทย คือ บาทหลวงคณะโดมินิกัน ๒ คน มาจากแหลมมะละกา ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๒๐๕ บาทหลวงปิแอร์ ลังแบร์ต เดอลาม็อต (Pierre Lambert de la Motte) กับบาทหลวงเดอบูร์ช (de Baurges) และบาทหลวงเดดีเอร์ (Deydier) เดินทาง มาถึงประเทศไทย ทั้งสามเป็นธรรมทูตชุดแรกของคณะที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ พ.ศ. ๒๒๐๓ คือ บาทหลวงมิสซุงต่างประเทศแห่งกรุงปารีส คณะบาทหลวงเดินทางมุ่งหน้าจะไปแพร่ธรรมยังประเทศจีนและอินโดจีน แต่เนื่องจาก มีการเบียดเบียนศาสนาในประเทศดังกล่าว ทั้งหมดจึงพำนักอยู่ในประเทศไทย และเริ่มศึกษา ภาษาโปรตุเกส เพื่อสามารถติดต่อกับคริสตังในประเทศไทยได้ ต่อมาไม่นานทางพระราชสำนัก ทราบว่าบาทหลวงลังแบร์ต อยู่ที่กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ทรงใคร่จะพบปะกับ คณะมิชชันนารี การเข้าเฝ้าครั้งแรกนี้ไม่ถือว่าเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งที่ริมฝั่ง แม่น้ำเพื่อสร้างโบสถ์และโรงเรียน การก่อสร้างเริ่มในปี พ.ศ. ๒๒๐๙ ทั้งโบสถ์และโรงเรียน รวมเรียกว่า “ค่ายนักบุญโยเซฟ” พ.ศ. ๒๒๑๐ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าฯ ให้บาทหลวงลังแบร์ต เข้าเฝ้าอีกครั้งหนึ่ง ทรงตั้งปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับศาสนาคาทอลิก บาทหลวงลังแบร์ตได้ทูล อัตถาอธิบายพร้อมกับนำสมุดภาพบางตอนในพระคริสตประวัติทูลเกล้าฯ ถวายด้วย วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๑๒ กรุงโรมได้ประกาศตั้งมิสซังสยาม (Apostolic Vicariotg of Siam) นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยมีฐานะเป็นองค์การทางศาสนาที่ทางราชการให้การ รับรองชื่อว่า สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิก สถานที่ตั้ง ปัจจุบันสำนักเลขาธิการตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๒/๑๑ ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี แขวงช่อง นนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
Page 45
161 การบริหารงาน โดยที่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาเผยแพร่และเข้ามาปฏิบัติงานต่าง ๆ ในประเทศไทยมาเป็นเวลานานกว่า ๓๐๐ ปี กิจการพระศาสนาได้เจริญพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ และมีประชาชนที่เลื่อมใสและนับถือศาสนานี้อยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ เพื่อความสะดวกและเพื่อความก้าวหน้าในกิจการต่าง ๆ ของพระศาสนาจะสามารถดำเนินไป ด้วยดีและเรียบร้อย สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย จึงได้แบ่งเขต การปกครองเป็น ๑๐ เขตมิสซัง โดยมีมุขนายกแต่ละเขตมิสซังเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่ปกครอง ดูแลเขตมิสซังของตนตามกฎหมาย ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ดำเนินการบริหารงานโดยสภาสูงสุด เรียกว่า “สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วยมุขนายกทั้ง ๑๐ เขตมิสซังเป็นคณะกรรมการ โดยมี พระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานฯ แบ่งการบริหารงานออกเป็น ๒ ภาคคือ ๑. ภาคกรุงเทพมหานคร (มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ) ประกอบด้วย ๖ เขตมิสซัง มี พระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู เป็นประมุข สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ ๕๑ ซอยโอเรียลเต็ล ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ แบ่งการปกครองดังนี้ ๑.๑ เขตมิสซังกรุงเทพฯ ๑.๒ เขตมิสซังราชบุรี ๑.๓ เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี ๑.๔ เขตมิสซังจันทบุรี ๑.๕ เขตมิสซังเชียงใหม่ ๑.๖ เขตมิสซังนครสวรรค์ ๒. ภาคท่าแร่-หนองแสง (มิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง) ประกอบด้วย ๔ เขต มิสซัง มีพระคุณเจ้า จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นมุขนายกปกครอง สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ ๓๒๖ ถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสกลนคร แบ่งการ ปกครองออกเป็นดังนี้ ๒.๑ เขตมิสซังท่าแร่ ๒.๒ เขตมิสซังอุบลราชธานี ๒.๓ เขตมิสซังอุดรธานี ๒.๔ เขตมิสซังนครราชสีมา การติดต่อประสานงาน สามารถติดต่อได้ ดังนี้ ที่อยู่ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย เลขที่ ๑๒๒/๑๑ ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๑ ๓๙๐๐ ต่อ ๑๒๐๙ หรือ ๑๒๐๒
Page 46
162 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ความเป็นมา คริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ที่เข้ามายังดินแดนสยาม เกิดขึ้นในช่วงคริสตศตวรรษ ที่ ๑๙ ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเข้ามาเกี่ยวข้องกับโลกทางตะวันออกในรูป ของการล่าอาณานิคมเพื่อยึดครองดินแดนแถบนี้เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้า เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมของตน และหาแหล่งระบายสินค้าที่เป็นผลมาจากการผลิตแบบ อุตสาหกรรมออกมาให้มากที่สุด การแผ่กระจายของคริสตศาสนาไปสู่ส่วนต่างๆของโลกจึง เกิดขึ้นพร้อมกับการขยายตัวทางการค้าและการล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก โดยคริสตจักรได้ส่งมิชชันนารีไปเผยแพร่ศาสนายังดินแดนต่างๆ และเข้ามายังดินแดนสยาม ในช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ปัจจุบันมีองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ที่ทางราชการไทยรับรอง ๔ องค์การ ดังนี้ ๑. สภาคริสตจักรในประเทศไทย ๒. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ๓ มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ๔ มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย ๑. สภาคริสตจักรในประเทศไทย ความเป็นมา สภาคริสตจักรในประเทศไทย (The Church of Christ in Thailand) เป็นกลุ่ม คริสตศาสนิกชนของคนไทย อยู่ในนิกายโปรเตสแตนท์ ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคริสตจักรในสยาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ และในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ คริสตจักรในสยามได้เปลี่ยนชื่อเป็น สภาคริสตจักร ในประเทศไทย คณะมิชชันนารี ได้เริ่มเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ มิชชันนารีคณะแรกเป็นชาวยุโรป ได้แก่ อังกฤษและ เยอรมัน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๕ส มิชชันนารีจากสหรัฐอเมริกาก็ได้เริ่มเข้ามาเผยแพร่ใน ประเทศไทย เช่น คณะเพรสไบทีเรียน และคณะดิสไซเบิล เป็นต้น ปัจจุบันคณะมิชชันนารี ที่อยู่ในสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย มีอยู่ถึง ๒๕ คณะด้วยกัน เช่น คณะบริติช เคาน์ซิล ออฟ เชิร์ช (The British Council of Churchs-BBC) คณะคริสเตียนเชิร์ช (Thd Christian Church) คณะลูเธอแรนเชิร์ชออฟ อเมริกา (The Lutheran Church of America) เป็นต้น
Page 47
163 สถานที่ตั้ง ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๓๒๘ ถนนพญาไท (เชิงสะพานหัวช้าง) แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ การบริหารงาน ปัจจุบันสภาคริสตจักรในประเทศไทยได้จัดระบบการปกครองโดยใช้ “ธรรมนูญแห่ง สภาคริสตจักรในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๑” ซึ่งเป็นกฎระเบียบสูงสุดขององค์กรที่ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา มีโครงสร้างการปกครองและการบริหารงานแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ สภาคริสตจักร คริสตจักรภาค คริสตจักรท้องถิ่น สภาคริสตจักรฯ ปกครองโดยสมัชชาสภาคริสตจักรในประเทศไทย คริสตจักรภาค ปกครองโดยคณะธรรมกิจคริสตจักรภาค คริสตจักรท้องถิ่น ปกครองโดยคณะธรรมกิจคริสตจักรท้องถิ่น สมัชชาสภาคริสตจกรในประเทศไทยเป็นที่ประชุมสูงสุดของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ประกอบด้วย ผู้แทนสามัญจากคริสตจักรภาค ผู้แทนพันธกิจการศึกษา ผู้แทนพันธกิจ การแพทย์ และคณะกรรมการอำนวยการสภาคริสตจักรในประเทศไทย รวมทั้งผู้แทนสมทบ ได้แก่ ที่ปรึกษากฎหมายของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ศาสนาจารย์ในสังกัด ภราดรหรือ มิชชันนารีผู้ร่วมงานสมัชชาสภาคริสตจักรฯ ระบบการบริหารประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ ๑. สมัชชาสภาคริสตจักรในประเทศไทย ๒. คณะกรรมการอำนวยการสภาคริสตจักรในประเทศไทย ๓. คณะกรรมการดำเนินงานและกรรมการมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ๔. คณะผู้บริหารสภาคริสตจักรในประเทศไทย ๕. คณะกรรมการอำนวยการพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทย การติดต่อประสานงาน สามารถติดต่อได้ ดังนี้ ที่อยู่ สภาคริสตจักรในประเทศไทย เลขที่ ๓๒๘ ถนนพญาไท (เชิงสะพานหัวช้าง) แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๑๔ ๖๐๐๐-๙ โทรสาร ๐ ๒๒๑๔ ๖๐๑๐
Page 48
164 ๒. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ความเป็นมา คณะมิชชันนารีที่เข้ามาทำการในประเทศไทย มิใช่มีเพียงเฉพาะคณะอเมริกันเพรส ไปที่เรียน และคณะอเมริกันแบ๊บติสเท่านั้น แต่หากยังมีคณะอื่น ๆ ที่เข้ามาก่อนและหลัง สงครามมหาเอเชียบูรพา คณะมัชชันนารีกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มิได้เข้าสังกัดเป็นสมาชิกของสภา คริสตจักรในประเทศไทยและถือเป็นอิสระ ทำงานในส่วนหรือเขตของตน ต่อมาภายหลังจึงได้ เข้ามาร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิกของสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ได้แก่ ๑. คณะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารือไลแอนส์ (C & MA ซี.เอ็ม.เอ) พ.ศ. ๒๔๗๒ ๒. คณะเวิร์ลด์ไวด์อีแวนเจไลเซซั่นครูเซด (WEC คณะเวค) ๓. คณะฟินนิชหรีฟอเรนมิชชั่น ๔. คณะอเมริกันเซิร์ชออฟไครสต์ (คริสเตียนเชิร์ช มิชชั่น) ๕. คณะโอเวอร์ซี มิชชันนารีเฟลโลชิปแห่งคณะไชนาอินแลนด์มิชชั่นในประเทศไทย (OMF โอ.เอ็ม.เอฟ.) ๖. คณะนิวไทรบ์มิชชั่น ๗. เสียงสันติ ๘. คริสเตียนลิทเทอเรเจอร์ คูเสด (ประเสริฐ บรรณาคาร หรือ CLC) ๙. การฟื้นฟูของ ดร.จอห์น ซง ๑๐. ศาสนาจารย์สุข พงศ์น้อย ซึ่งเป็นผู้ประสานงานกับผู้นำมัชชันนารีคณะต่าง ๆ ที่ได้เอ่ยนามมาข้างต้น จัดตั้ง “สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย” พ.ศ. ๒๕๑๒ กรมการศาสนาได้ให้การรับรอง โดยใช้ชื่อครั้งแรกว่า “องค์การสหพันธ กิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น “สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย” ชื่อย่อ ว่า “สคท.” และชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Evangelical Fellowship of Thailand” ตามที่ได้ยื่น ขอจดทะเบียนกับกองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสำนักงานตั้ง อยู่เลขที่ ๒๙๖/๓-๔ ถนนสีลม อำเภอบางรัก กรุงเทพมหานคร ใช้อาคารที่ร้านหนังสือ ประเสริฐบรรณาคารเดิม (คริสเตียนลิทเทอเรเจอร์ครูเสด CLC) เป็นสำนักงานช่วงแรก สถานที่ตั้ง ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๖๔/๑ ถนนรามคำแหง ซอย ๒๒ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
Page 49
165 การบริหารงาน สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทยได้บริหารองค์การโดยมีวัตถุประสงค์หลักตาม ธรรมนูญของ สคท. ดังนี้ ๑. ส่งเสริมการประสานงานและความร่วมมือกัน ๒. ส่งเสริมการเผยแพร่ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ ๓. ส่งเสริมการเจริญฝ่ายวิญญาณของคริสเตียน ๔. ส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อสารมวลชนของคริสเตียน ๕. ส่งเสริมสังคมสงเคระห์ และสาธารณประโยชน์ การติดต่อประสานงาน สามารถติดต่อได้ ดังนี้ ที่อยู่ สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย เลขที่ ๖๔/๑ ถนนรามคำแหง ซอย ๒๒ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๓๑๘ ๓๘๘๗, ๐ ๒๓๑๘ ๓๘๖๒, ๐ ๒๓๑๘ ๘๒๓๕ โทรสาร ๐ ๒๓๑๘ ๓๘๖๑
Page 50
166 ๓. มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ความเป็นมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ มิชชั่นนารี่ (ผู้ประกาศศาสนา) ในเครือสหพันธ์แบ๊บติสต์ใต้ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ ในประเทศไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็ได้รวบรวมผู้เชื่อพระเจ้าที่เป็นชาวไทยตั้ง คริสตจักรในเครือสหพันธ์แบ๊บติสต์ใต้ เป็นแห่งแรก โดยใช้ชื่อว่า “คริสตจักรแบ๊บติสต์ กรุงเทพฯ” ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อ “คริสตจักรพระคุณ” ด้วยงานในสังกัดสหพันธ์แบ๊บติสต์ใต้ได้ขยายอย่างรวดเร็วเกิดคริสตจักร และ หน่วยงานเป็นจำนวนมากในภูมิภาคต่าง ๆ และได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นมูลนิธิ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ขออนุญาตจัดตั้งและได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นมูลนิธิ โดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิคริสตจักรแบ๊บติสต์” สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ ๙๐ ซอย ๒ ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ “มูลนิธิคริสตจักรแบ๊บติสต์” ได้รับรองจาก “กรมการศาสนา” กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) เพื่อดำเนินกิจกรรมทางด้านศาสนา และในปีพ.ศ. ๒๕๔๕ มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ได้มอบหมายให้สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย เป็นผู้ แทนในการดำเนินการประสานงานด้านศาสนา ในนามของมูลนิธิศริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ เพื่อ เป็นการแบ่งเบาภารกิจที่มีมากขึ้นตามลำดับ จนถึงปัจจุบัน สถานที่ตั้ง ปัจจุบันสำนักงานมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บตริต์ในประเทศไทยตั้งอยู่เลจที่ ๙๐ ซอย ๒ ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ การบริหารงาน มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ได้ดำเนินกิจการตามระเบียบข้อบังคับที่ได้ยื่น ขออนุญาตจัดตั้งเป็นมูลนิธิต่อทางราชการ โดยมีคณะกรรมการบริหารเป็นผู้รับผิดชอบต่อ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ได้ พิจารณามอบหมายให้สหกิจคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการ ประสานงานตอบสนองต่องานด้านศาสนา พร้อมทั้งดูแลสมาชิก (คริสตจักรและสถาบันต่าง ๆ) ของมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ให้ดำเนินกิจกรรมทางด้านศาสนาให้ถูกต้องและสอดคล้อง ต่อระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิฯ และนโยบายของกรมการศาสนา
Page 51
167 สถาบันในมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ดูแลโดย สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ใน ประเทศไทย (ส.ค.บ.) ได้แก่ ๑. ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ กสศ. ๒. โรงเรียนคริสตศาสนาแบ๊บติสต์ ๓. คลินิกเวชกรรมคริสเตียนบางคล้า ๔. สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร ๕. สถานอบรมคริสเตียนแบ๊บติสต์ พัทยา ๖. พันธกิจเรือนจำคริสเตียนในประเทศไทย ๗. โรงเรียนอนุบาลอิ่มเอม ๘. ศูนย์ส่งเสริมอาชีพสตรีแสงเดือนบางคล้า ๙. สุสานมูลนิธิคริสตจักร คณะแบ๊บติสต์ การติดต่อประสานงาน สามารถติดต่อได้ ดังนี้ ที่อยู่ มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (ฟอเรนมิชชั่นบอร์ด) เลขที่ ๙๐ ซอย ๒ ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพ ฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๕๒ ๗๐๗๙, ๐ ๒๒๕๒ ๘๔๗๓ โทรสาร ๐ ๒๖๕๖ ๔๕๒๔
Page 52
168 ๔. มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย ความเป็นมา การดำเนินงานของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยนายอาร์ เอ คาร์ดเวลล์ เดินทางเข้ามาจำหน่ายหนังสือในกรุงทพฯ (ข้อมูลจาก นิตยสารรีวิวแอนด์เฮอรัลด์ ฉบับที่ ๘๔ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐) มีความเห็นว่าควร เข้ามาดำเนินงานการเผยแพร่ข่าวประเสริฐของพระเจ้าในประเทศไทย อีก ๑๐ ปีต่อมา บรรณกร (ผู้ประกาศข่าวประเสริฐโดยการจำหน่ายหนังสือ) จากประเทศสิงคโปร์ได้เข้ามา ทำงานในกรุงเทพฯ โดยได้นำหนังสือภาษาจีนมาจำหน่ายในหมู่ชาวจีนและเพื่อหนุนน้ำใจ สมาชิกคริสตจักรซึ่งส่วนมากเป็นชาวจีน ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ สำนักงานใหญ่เจนเนอรัลคอนเฟอเรนซ์ สหรัฐอเมริกา ได้ส่งศาสนทูต เข้ามาเผยแพร่ข่าวประเสริฐในประเทศไทย และในปีเดียวกันนี้ได้จัดตั้งสำนักงานมิชชั่นของ คริสตจักร โดยอาจารย์ อี. แอล. ลองเวย์ กับอาจารย์ฟอร์เรส เอ. แพร๊ด ต่อมาสำนักงานภาคได้ส่งอาจารย์ ตัน เมียม สัว ผู้ประกาศข่าวประเสริฐซึ่งอยู่ใน ประเทศจีน ให้เข้ามาทำงานในประเทศไทย เพราะงานของคริสตจักรในเวลานั้นส่วนใหญ่อยู่ใน หมู่ชาวจีน กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๖๔ มีผู้รับเชื่อเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก ๕ คน จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๙ มีผู้เข้ารับบัพติศเข้ามาเป็นสมาชิกคริสตจักร อีก ๘๘ คน ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เริ่มต้นสร้างโรงเรียนขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อสอนศาสนาให้แก่นักเรียน ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ คริสตจักรได้จัดตั้งคลินิกรักษาโรค โดยมีนายแพทย์ ราล์ฟ วัดเดล กับภรรยาเป็นผู้ดำเนินงาน ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นโรงพยาบาลมิชชั่นกรุงเทพฯ มีการขยายงาน ด้านการแพทย์ออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ เช่น อุบลราชธานี ภูเก็ต และหาดใหญ่ และขยายงาน ด้านทันตแพทย์ขึ้นที่เชียงใหม่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ โรงเรียนมิชชั่นในกรุงเทพฯ ถูกไฟไหม้ คริสตจักรจึงได้สร้างโรงเรียน ชั่วคราว จนกระทั่งวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ โรงเรียนหลังใหม่สร้างเสร็จ เปิดการสอน เป็นภาษาอังกฤษอีกแผนกหนึ่งที่เอกมัย เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ภาษาอังกฤษ
Page 53
169 ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ คริสตจักรได้จัดตั้งโรงเรียนพระคริสตธรรมคัมภีร์ทางไปรษณีย์ สำหรับ ผู้ประสงค์เรียนรู้เกี่ยวกับคริสตศาสนา สามารถเรียนทางไปรษณีย์ การดำเนินงานของ โรงเรียนทำให้ประชาชนรู้จักคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสมากขึ้น และมีประชาชนรับเชื่อ พระเจ้าเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อกิจกรรมของพระเจ้าก้าวหน้ามากขึ้น คริสตจักรได้เริ่มเผยแพร่ข่าว ประเสริฐทางวิทยุ กระจายเสียงครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ คริสตจักรได้สร้างอาคารสองชั้นเป็นสำนักงานที่ซอย โรงเรียนเกษมพาณิชยการ (ซอยปรีดีพนมยงค์ ๓๗) ถนนสุขุมวิท ๗๑ แขวงคลองตันเหนือ เขต พระโขนง กรุงเทพมหานคร ชั้นที่สองเป็นสำนักงานของคริสตจักร ส่วนชั้นล่างเป็นที่ตั้งโรง พิมพ์ “สำนักพิมพ์ข่าวประเสริฐ” เป็นโรงพิมพ์ที่ทันสมัยสำหรับพิมพ์งานของคริสตจักรและ สถาบันในเครือ ต่อมาคริสตจักรได้ขยายออกไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วทุกภาค จัดตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล และคลินิก และยังได้จัดตั้งศูนย์ชาวเขาขึ้นที่ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ เพื่อให้การศึกษาแก่ชาวเขาตามหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อเป็นการ สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล สอนชาวเขาให้มีการศึกษาที่ดีขึ้น ให้มีความรักชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ รู้จักมีสัมมาชีพแทนการปลูกพืชที่นำไปผลิตยาเสพติดอันมิพึงปรารถนา วัตถุประสงค์ขององค์การ จุดมุ่งหมายของการดำเนินงานของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย คือ ๑. ประกาศให้คนทั้งหลายรู้จักประเสริฐแห่งองค์พระเยซูคริสต์ ๒. ประกาศให้คนทั้งหลายรู้จักวันสะบาโตที่แท้จริงของพระเจ้า ตามที่ได้จารึกไว้ใน หนังสือ พระคริสตธรรมเอกโซโด บทที่ ๒๐ ข้อ ๘- ๑๑ ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในพระบัญญัติ ๑๐ ประการของพระเจ้า เนื่องจากคนจำนวนมากได้ล่วงละเมิดพระราชบัญญัติข้อนี้ ๓. สอนให้คนทั้งหลายดำเนินชีวิตตามคำสอนที่ได้กล่าวไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ของ พระเจ้า ๔. สอนให้คนทั้งหลายเตรียมพร้อม เพื่อต้อนรับการเสด็จกลับมาครั้งที่สองขององค์ พระเยซูคริสต์
Page 54
170 สถานที่ตั้ง ปัจจุบันตั้งอยู่อาคารเลขที่ ๑๒ ซอยปรีดี พนมยงค์ ๓๗ ถนนสุขุมวิท ๗๑ แขวง คลองตัน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร การติดต่อประสานงาน สามารถติดต่อได้ ดังนี้ ที่อยู่ มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย เลขที่ ๑๒ ซอยปรีดี พนมยงค์ ๓๗ ถนนสุขุมวิท ๗๑ แขวงคลองตัน เขตพระโขนง กรุงเทพ ฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๓๙๑ ๓๕๙๕ ต่อ ๑๑๒ โทรสาร ๐ ๒๓๘๑ ๑๙๒๘
Page 55
๔ ศาสนาพราหมณ์–ฮินดู
Page 56
172 เทวสถาน กรุงเทพมหานคร
Page 57
173 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในประเทศไทย ในสมัยโบราณ แต่แรกเริ่มศาสนาพราหมณ์ฮินดูนี้เรียกกันว่า สนาตนธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นนิตย์ คือไม่สิ้นสุด ไม่รู้จักตาย แปลเอาความ หมายถึงพระวิษณุ จึงเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า วิษณุธรรม เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ฮินดู มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละสถานที่มีเทพเจ้าแต่ละ องค์ ดูไม่ออกว่าองค์ไหนสำคัญกว่าหรือสูงกว่า แต่ละกลุ่มนับถือแต่ละองค์ บางทีในครอบครัว เดียวกัน แต่ละคนในครอบครัวก็นับถือเทพเจ้าต่าง ๆ กัน เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก สัญลักษณ์ทางศาสนา สำคัญที่สุดคือ ตัวอักษรที่อ่านว่า โอม มาจาก อ + อุ + มะ เป็น แทนพระตรีมูรตีเทพ คือ อ แทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ อุ แทนพระพรหมา ม แทนพระศิวะ หรือพระอิศวร เมื่อรวมกันเข้าเป็นอักษรเดียวกลายเป็นอักษร โอม แทนพระปรมาตมัน พระเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตน สัญลักษณ์นี้ทุกนิกาย ทุกลัทธิในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ต้องใช้เป็นประจำ ในประเทศไทย เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ใช้ทั้งตรีศูล และตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ ทางสมาคมฮินดูสมาชเอาตัวอักษรโอม เป็นสัญลักษณ์ สมาคมฮินดูธรรมสภา เอารูปโอม ล้อม รอบด้วยสวัสดิกะ และจักร ในรูปวงกลมเป็นสัญลักษณ์ ทั้งสามสถาบันรวมกันเรียกว่า องค์การศาสนาพราหมณ์ฮินดู ซึ่งมีสัญลักษณ์ร่วมคือ ตัวโอม อยู่ระหว่างตรีศูล นอกจากนี้ยังมีรูปดอกบัว สังข์ คฑา ช้าง โค พระอาทิตย์ นกยูง สิงโต งู คันไถ และ อื่น ๆ ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกายและประจำลัทธิด้วย แต่ต้องมีตัวโอมอยู่เสมอ สมัยก่อนรัตนโกสินทร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูได้เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิก่อนสมัย ทวารวดีคัมภีร์ชาดกในพระพุทธศาสนา เช่น พระมหาชนก คัมภีร์รามายณะ ก็กล่าวถึงดินแดน ในสุวรรณภูมิ และสุวรรณทวีปไว้ เมื่อปี พ.ศ. ๓๐๓ คณาจารย์พราหมณ์ที่ติดตามพระโสณะเถระกับพระอุตรเถระ ศาสน ทูตของพระเจ้าอโศกฯ เข้ามายังสุวรรณภูมิ จุดแรกที่ทั้งสององค์มาประดิษฐานพระพุทธ ศาสนา คือ นครปฐม ตอนนี้นับเป็นยุคแรก ๆ ของพราหมณ์ในประเทศไทย ประจักษ์พยานใน การเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ คือ ปฏิมากรรม และปูชนียวัตถุของศาสนา เช่น เทวรูป เทวาลัย พบที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี ที่ตำบลพงตึก
Page 58
174 ประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้แพร่จากอินเดียเข้าสู่ ประเทศไทย ตั้งมั่นอยู่ที่สุโขทัย พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุง พระพุทธศาสนามาก ในขณะเดียวกันก็ทรงเอาธุระในศาสนาพราหมณ์ฮินดูด้วย ในราชสำนักมีพราหมณ์ พระศรีมโหสถ พระมหาราชครู เป็นปุโรหิต ถวายความรู้วิทยาการของนักรบและวิทยาการของ กษัตริย์ มีการประกอบพิธีกรรมตามพระเวท อันสืบเนื่องมาเป็นพระราชพิธีจนถึงปัจจุบัน ในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในพระราชอาณาจักรไทยตามลัทธิลังกาวงศ์นับว่า เป็นยุคที่สองของพราหมณ์ในไทย ยุคนี้ห่างจากยุคแรกประมาณ ๑,๕๐๐ ปี ได้ปรากฎปูชนีย วัตถุในศาสนาพราหมณ์ในหลาย ๆ แห่งที่ขุดพบในอาณาจักรสุโขทัยรวมทั้งจารึกพระเวทใน ศาสนาพราหมณ์อีกเป็นจำนวนมาก องค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่ทางราชการไทยให้การรับรอง ได้แก่ สำนักพราหมณ์ พระราชครู ในสำนักพระราชวัง สมาคมฮินดูธรรมสภา และสมาคมฮินดูสมาช
Page 59
175 ความเป็นมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นพราหมณ์สมัยพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากที่ตั้งของศาสนพิธีของ พราหมณ์ และของพุทธที่สำรวจพบในพระราชอาณาจักรไทย มักจะมีเทวรูป ปฏิมากรรมใน พระพุทธศาสนาอยู่ในสถานที่เดียวกันเสมอ จากตำนานและข้อสันนิษฐานต่าง ๆ จะเห็นว่าบรรดาวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ศึกษากันมาใน สมัยพันกว่าปีมานี้ ได้อาศัยวิชาในแขนงอุปเวท อาถรรพเวท เป็นส่วนมาก เช่น อายุรเวทว่า ด้วยทางเภสัชการปรุงยาและการแพทย์ทุกแขนง นิติเวทว่าด้วยการปกครองกฎหมายจะเขียน แบบแผนของบ้านเมือง เป็นต้น ตลอดจนวรรณคดี เช่น หนังสือเรื่องสมุทโฆษคำฉันท์ ฉบับที่ พระมหาราชครูแต่ง และหนังสือจินดามณี ต้นตำราเรียนภาษาไทยซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้พระยาโหราธิบดี (พราหมณ์) แต่งเอาไว้เพื่อใช้สอนกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้น ดังนั้น ในสมัยก่อนที่ปรึกษาราชการงานเมืองจึงมีพราหมณ์ปุโรหิตอยู่ด้วยเสมอ เพราะ โดยตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนวิชาการต่าง ๆ ด้วย สมัยรัตนโกสินทร์ ในการสร้างพระนครใหม่ตามคติโบราณให้สร้างเทวสถานและเสา ชิงช้าด้วยสาเหตุที่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ที่สำคัญ คือ พระศิวะผู้ทรงประทานพร พระ นารายณ์ผู้ทรงรักษา พระพรหมผู้สร้าง เมื่อจัดตั้งเทวสถานแล้วก็เป็นสถานที่จะกราบไหว้เทพ เจ้าสำคัญ และการสร้างเสาชิงช้าก็เป็นคติในการทำให้บ้านเมืองแข็งแรง พิธีที่ทำให้ประเทศ ชาติมั่นคงตามลัทธินั้น คือ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ซึ่งจะทำพิธีโล้ชิงช้าแสดงตำนาน เทพเจ้าตอนสร้างโลก เมื่อทำพิธีนี้แล้วถือว่าการสร้างพระนครได้สำเร็จลงโดยสมบูรณ์ เมื่อสร้างพระนครเรียบร้อยและประกอบพิธีราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างเทวสถานขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๗ ด้วยเป็นเทวสถานที่มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและประกอบพระราชพิธีสำคัญสำหรับพระนคร และ ทรงให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการ สร้างพระนครตามอย่างโบราณ โดยถือคติว่าจะทำให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรง และได้ โปรดเกล้าฯ ให้พราหมณ์จากปักษ์ใต้ขึ้นมารับสนองพระบรมราชโองการเป็นพราหมณ์ประจำ ราชสำนัก ปฏิบัติพระราชพิธีสำหรับพระองค์ และพระราชอาณาจักร โดยให้ประกอบพระราช พิธีตรียัมปวาย โล้ชิงช้า ซึ่งเป็นการขอพรจากพระอิศวรเพื่อให้พระนครมั่นคง แข็งแรง และมี ความอุดมสมบูรณ์ ๑. สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง
Page 60
176 เสาชิงช้า สร้างขึ้นพร้อมเทวสถาน อยู่บริเวณหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม ใช้ประกอบพิธี โล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๗ เป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๖ จึง ยกเลิก ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกกรมพิธีพราหมณ์ในกระทรวงวัง พิธีโล้ ชิงช้าจึงงดไป แต่พรหมณ์ยังคงทำพิธีตรียัมปวายอยู่ โดยทำอยู่ภายในเทวสถานเท่านั้น และอยู่ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้พราหมณ์ปฏิบัติพระราชพิธี สำหรับพระองค์และประเทศชาติต่อไป โดยให้ขึ้นตรงต่อสำนักพระราชวัง และปฏิบัติศาสนกิจ ที่เทวสถานสำหรับพระนคร ข้างวัดสุทัศนเทพวราราม เสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร ศาสนสถานที่สำคัญ เทวสถาน เทวสถาน หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “โบสถ์พราหมณ์” (ด้วยเป็นเทวสถานที่มีพราหมณ์ เป็นผู้ดูแลและประกอบพระราชพิธีสำคัญสำหรับพระนคร) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๒๖๘ ถนนบ้าน ดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ ภายในเทวสถานมีโบสถ์ ๓ หลัง คือ ๑. สถานพระอิศวร(โบสถ์ใหญ่) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้จะมีขนาด ใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทำชั้นลด ๑ ชั้น หน้าบันมีเทวรูปปูนปั้นรูปพระอิศวร พระอุมา และเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศกุมภ์ ภายในโบสถ์มีเทวรูปต่าง ๆ อาทิ พระอิศวรทำด้วยสำริด เทวรูปศิวลึงค์ พระพรหม ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า ๒ ต้น สูง ๒.๕๐ เมตร สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ๒. สถานพระพิฆเณศวร (โบสถ์กลาง) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนมีพาไลทั้งด้านหน้า และ ด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามี ชั้นลด ๑ ชั้น ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเณศวร ๕ องค์ ล้วนทำด้วยหิน ๓. สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนมีพาไลทั้งด้านหน้าและด้าน หลังการก่อสร้างทำเช่นเดียวกับสถานพระพิฆเณศวร ภายในโบสถ์ประดิษฐานพระนารายณ์ทำ ด้วยสำริด ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ สูง ๒.๕๐ เมตร เรียกว่า “เสาหงส์”
Page 61
177 บริเวณลานเทวสถานด้านหน้าประตูทางเข้ามีเทวาลัยขนาดเล็กประดิษฐานพระพรหม ตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ เทวสถานได้ขึ้นทะเบียนเป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ หน้า ๕๒๘๑ ลำดับที่ ๑๑ ระบุว่า เทวสถานเป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของ ชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ เสาชิงช้า สร้างขึ้นพร้อมเทวสถาน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ บริเวณหน้า วัดสุทัศนเทพวราราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร ใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรี ยัมปวาย พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ทรงโปรดให้สร้างขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗ ต่อมาสร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณ ที่นั้น จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้ง ปัจจุบัน การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณไว้ โดยถือคติว่าจะทำให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรงดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ในเวลาต่อมาไม้เสาชิงช้าคู่นี้เก่ามาก จึงมีการปฎิสังขรณ์เสาชิงช้าขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ โดยบริษัทหลุยต์ ที โอโนเวนส์ จำกัด และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ครั้น พ.ศ. ๒๔๙๐ เกิดไฟไหม้เสาชิงช้าเนื่องจากไฟจากธูปได้ตกลงไปในรอยแตก รัฐบาลครั้งนั้นดำริจะรื้อ แต่เมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยจึงได้ระงับไว้ และมีคำสั่งให้ เทศบาลนครกรุงเทพซ่อมกระจังไว้ชั่วคราว กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ หน้า ๕๒๘๑ ลำดับที่ ๑๐ ระบุว่าเป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ พ.ศ. ๒๕๐๒ กระจังที่เป็นลวดลายผุลง ได้เปลี่ยนใหม่และทาสี และ พ.ศ. ๒๕๑๓ สภาพ เสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมาก ต้องเปลี่ยนเสาใหม่เพื่อให้มั่นคงแข็งแรง โดยรักษาลักษณะเดิมไว้ ทุกประการ และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นว่า เสาชิงช้า ซึ่งเป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองนับตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึงปัจจุบันหาก รวมอายุตั้งแต่เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ จนถึงขณะนี้ รวมอายุได้ประมาณ ๒๒๓ ปี สภาพเดิม ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก สมควรที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์เสาชิงช้าครั้งใหญ่ จึงได้ประชุมคณะ กรรมการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้ากรุงเทพมหานคร และมีการศึกษาประวัติของเสาชิงช้า อย่างจริงจัง จากนั้นได้เริ่มลงมือจัดหาไม้สักขนาดใหญ่ ๒ ต้นจากจังหวัดแพร่ เพื่อนำมาทำเป็น เสาประธาน ส่วนที่โคนเสาทั้งสองเป็นเสากลมขนาดกลางขนาบข้างเรียกว่า เสาตะเกียบ ยอด
Page 62
178 เสาแกะสลักลวดลายงดงาม มีความสูงจากฐานถึง ยอด ๒๑.๑๕ เมตร หลังจากได้บูรณะเสร็จสมบูรณ์แล้วคณะ กรรมการฯ ได้มีการประชุมเพื่อเตรียมการจัดการ ฉลองเสาชิงช้าใหม่ และได้ทำหนังสือกราบบังคม ทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีฉลอง ซึ่งได้มีหนังสือจากราชเลขาธิการว่าทรงกำหนดจะ เสด็จฯ ในวันพุธที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๗ นาฬิกา งานเฉลิมฉลองกำหนด ๓ วัน คือระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีรายละเอียดการจัดงาน ดังนี้ วันอังคารที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นวันสุกดิบตามประเพณีไทย ซึ่งเป็นการ เตรียมการจัดงาน จัดรถรางนำเที่ยว และพิธีเจริญพุทธมนต์ (สวดมนต์เย็น) วันพุธที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นพิธีฉลองเสาชิงช้า เพื่อความเป็นสิริมงคล ช่วงเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ๘๑ รูป และสวดชุมนุมเทวดา เวลา ๑๗ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีฉลองเสาชิงช้า มีกิจกรรมแสง สี เสียงและนิทรรศการประวัติเสาชิงช้า มหรสพเฉลิมฉลอง และอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น โขน ละคร ลิเก ลำตัด เป็นต้น วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นการเฉลิมฉลองต่อเนื่อง โดยมีการ เสวนาเรื่องความสำคัญ ความเป็นมาของเสาชิงช้า ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ภาคเช้า และการมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายเสาชิงช้า มีรถรางนำเที่ยว และภาคค่ำ มีการแสดงมหรสพเฉลิมฉลอง พิธีสำคัญของศาสนา พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีสองพิธีต่อเนื่องกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์ ประกอบพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ประกอบพิธีที่มณฑลท้องสนามหลวง แต่เดิมมีเแต่พิธีพราหมณ์ มาเริ่มมีพิธีสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย เป็นสองพิธีต่อกันคือ พิธีตรียัมปวาย กับพิธีตรีปวาย กระทำในเดือนยี่ ของทุกปี เป็นเวลา ๑๕ วันตลอดเวลาดังกล่าวมีการอ่านโศลกสรรเสริญ และ ถวายโภชนาหารแด่เทพเจ้า พิธีนี้เกี่ยวเนื่องกับพิธีแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีขอพรให้พืชพันธุ์อุดม สมบูรณ์ เป็นต้นฤดูการเพาะปลูก เสาชิงช้า
Page 63
179 ส่วนพิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีที่ทำหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว พราหมณ์จึงจัดของถวาย เป็นการระลึกถึงเทพเจ้า ที่กรุณาให้พืชพันธุ์แก่มนุษย์ พิธีนี้จะมีพิธีโล้ชิงช้ารวมอยู่ด้วย หมายถึง การหยั่งความมั่นคงของแผ่นดิน และเป็นการเสริมสร้างให้แผ่นดินมีความมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นคติ แต่โบราณ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีสถาปนาพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเป็นสมมติเทพ ปกครองแผ่นดิน เป็นใหญ่ในทิศทั้งแปดและเป็นการประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน ตาม คติพราหมณ์จะทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้า เพื่อทำการสถาปนาให้พระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นสมมติเทพ ดำรงธรรมสิบประการ ปกครองประเทศด้วยความร่มเย็น พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีสาบานตนในการรับราชการว่าจะซื่อตรง ต่อแผ่นดินและปกป้องชาติบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุข โดยบรรดาข้าราชการจะต้องดื่มน้ำ สาบานตน จำเพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง โดยพราหมณ์จะทำพิธี เสกน้ำสาบานนี้ แล้วนำพระแสง (ศาสตราวุธ) ต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ลงชุบในน้ำที่เสกนั้น เพื่อหมายให้ผู้ที่ไม่ซื่อตรงต่อแผ่นดิน จะต้องได้รับโทษต่าง ๆ นานา ปัจจุบัน จะประกอบพระราชพิธีนี้รวมกับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมี ศักดิ์รามาธิบดี เฉพาะบุคคลที่ได้รับพระราชทานเท่านั้น ด้านการปกครอง เทวสถานเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ขึ้นกับสำนักพระราชวัง ได้รับพระราชทานพระบรมราชา นุเคราะห์ให้ประกอบพระราชพิธีสำหรับพระราชสำนักโดยมีตำแหน่งหัวหน้าพราหมณ์หรือ พระครูพราหมณ์ จะต้องได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นพราหมณ์ประกอบพระราชพิธี การบริหารงาน ประธานพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของ สำนักพราหมณ์ โดยได้จัดแบ่งภารกิจเป็น ๓ ด้าน ๑. งานในหน้าที่ คือ ประกอบพิธีสำหรับพระราชสำนักตามหมาย ๒. งานด้านเผยแพร่ศาสนาแก่ประชาชน ๓. งานด้านสังคมสงเคราะห์ การติดต่อประสานงาน สามารถติดต่อได้ ดังนี้ ที่อยู่ สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๖๙๕๑โทรสาร ๐ ๒๒๒๔ ๑๒๑๑
Page 64
180 ความเป็นมาของสมาคมฮินดูธรรมสภา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ราวปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ได้มี พราหมณ์ชาวภารตจากอุตตรประเทศ (เผ่าทมิฬ) เดินทางมาสู่ประเทศไทย โดยทางเรือบ้าง ได้ ขึ้นบกที่แหลมมลายู ที่เกาะภูเก็ต นครศรีธรรมราช และจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย บ้างนำสินค้ามาขาย และมีกลุ่มหนึ่งได้เดินทางขึ้นสู่เมืองหลวงเริ่มประกอบกิจการค้าและหา เลี้ยงชีพตามความรู้ของตน เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสประเทศอินเดีย และได้เสด็จนิวัติสู่ ประเทศไทยในปีเดียวกัน พระองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ได้เคยทรง ปฏิสันถารกับชาวอินเดีย (เผ่าทมิฬ) และตรัสว่า หากชาวอินเดียมีความประสงค์จะได้ที่ดินเพื่อ ใช้สร้างสาธารณะประโยชน์แล้ว พระองค์จะพระราชทานให้ แต่ปรากฏว่ามิได้มีชาวอินเดียผู้ใด นำเรื่องนี้มาพิจารณา จะเป็นด้วยเหตุผลอันใดก็ยากที่จะทราบได้ ปี พ.ศ. ๒๔๒๒ ชาวอินเดียที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งมาจากภาคใต้ของ ประเทศอินเดีย (เผ่าทมิฬ) ได้เริ่มทยอยเข้าสู่เมืองหลวงบางกอก เป็นระลอก ๆ เพื่อตั้ง รกรากอยู่ในเมืองหลวง และบ้างก็แต่งงานอยู่กินกับคนไทยชาวพื้นเมือง และไทยเชื้อสายมอญ ปรากฏหลักฐานว่ามีชาวอินเดียผู้หนึ่งได้ซื้อที่ดินไว้ที่หัวลำโพง สร้างเทวสถานเป็นเนื้อที่กว้าง ใหญ่ไพศาล และเป็นบุคคลแรกที่จัดหาซื้อที่ดินไว้ในเมืองหลวง ด้วยความร่วมมือของ ชาวอินเดีย แต่เนื่องจากเป็นระยะเวลานานเกือบร้อยปีมาแล้ว จึงยากที่จะทราบได้ว่า ที่ดินดัง กล่าวนั้นได้ถ่ายเทไปเป็นของผู้ใด ทราบแต่เพียงจากปากคำของท่านผู้สูงอายุว่า ในระยะเวลา เดียวกันนั้น คงมีแต่ศาลาเล็กๆของเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีอยู่ใต้ต้นสะเดา ในไร่อ้อยริมทาง สีลม(ปัจจุบันคือ เนื้อที่บริเวณวัดพระศรีมหาอุมาเทวีด้านหลังวัด) ศาลาจ้าวแม่ศรีมหาอุมาเทวีนี้ เดิมชื่อว่า ศาลาศรีมารีอัมมัน เป็นที่เคารพบูชาของชาว อินเดีย ชาวไทย และชาวจีนในยุคนั้น ทั้งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของกลุ่มชาวอินเดียทมิฬ (ทาง ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) ศาลเจ้าแม่นี้มีความศักสิทธิ์เป็นที่เลื่องลือกันมาในสมัยนั้น ต่างพา กันมากราบไหว้บูชากันเป็นประจำ ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ชาวอินเดียทมิฬที่ได้ตั้งรกรากอยู่ในย่านสีลม มีความเห็นว่า ศาลเจ้าแม่ มีความศักสิทธิ์เป็นที่เคารพสักการบูชาของชนในท้องที่และต่างตำบล จึงพร้อมใจกันสร้าง เทวาลัยขึ้น และนำองค์เจ้าแม่มาประดิษฐานเป็นพระประธาน และนำองค์เทวะต่างๆมาจาก ประเทศอินเดีย ก่อสร้างเพิ่มเติม ต่อมาได้กลายเป็นที่ชุมนุนของชาวอินเดีย ผู้เดินทางมาจากที่ต่างๆ ชาวบ้านจึงขนานนามวัดนี้ว่า “วัดแขกสีลม” และได้มีการจัดงาน เทศกาลประจำปีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ชาวอินเดียทมิฬได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์วัดซึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า “ผู้ใหญ่วัด” จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ “วัดพระศรีมหามารีอัมมัน” เมื่อวันที่ ๘ ๒. สมาคมฮินดูธรรมสภา
Page 65
181 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ คณะกรรมการได้รื้อฟื้น ประเพณีดั้งเดิมของชาวภารต โดยจัดให้มีการ ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนาที่น่า มหัศจรรย์ที่สุดคือ ริเริ่มให้มีการจัดงานแห่เป็น ประเพณีประจำปี โดยมีการเข้าทรงเจ้า อัญเชิญเทวะต่าง ๆ ออกแห่ มีการทำบุญ เลี้ยงอาหาร แจกขนม ในเทศกาลอันควร โดย เฉพาะอย่างยิ่ง งานเทศกาล “ดูเซร่า” หรือ ”เนาวราตร” จะมีการเฉลิมฉลองกันอย่าง เอิกเกริกเป็นที่เลื่องลือไปทั่วเมืองไทยว่า “งานแห่เจ้าแม่กาลี วัดแขกสีลม” และในปี เดียวกันนี้ ชาวอินเดียทมิฬก็ได้ร่วมมือกันซื้อ ที่ดินแปลงหนึ่งอยู่ที่เลขที่ ๕๐ ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จัดตั้งเป็นสมาคมฮินดูธรรมสภาขึ้น และได้ จดทะเบียนสำนักงานใหญ่ของสมาคม ต่อมาเมื่อศาสนิกชนชาวอินเดียทมิฬเพิ่มจำนวนมากขึ้น และสถานที่ในบริเวณวัดพระ ศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) ไม่สามารถขยายออกตามจำนวนศาสนิกชนได้ ก็จำเป็นต้องหาสถาน ที่ใหม่สำหรับประกอบกิจทางศาสนา จึงได้เรี่ยไรเงินจัดสร้างวัดวิษณุในที่ที่จัดตั้งสมาคมฮินดู ธรรมสภาในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ และได้อัญเชิญเทวรูปต่าง ๆ มาจากประเทศอินเดีย และทำพิธี ประดิษฐานเทวรูป และได้ทำพิธีเปิดในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ แล้วตั้งชื่อเต็มว่า “สมาคมฮินดูธรรมสภา (วัดวิษณุ)” เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ เวลา ๑๑ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกรับ พันเอกปิ่น มุทุกันต์ อธิบดีกรมการศาสนา ซึ่งนำบัญฑิตวิทยาธร สุกุล ประธาน ปุชารีวัดวิษณุและคณะเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร เนื่องในโอกาสที่ประกอบพิธีบูชาตามลัทธิของ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ มีการฉลองครบรอบ ๔๐๐ ปี หนังสือรามจริตมานัสของ ท่านตุลสีทาส ซึ่งศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินทร์ เป็นประธานกรรมการและรับหน้าที่ทำพิธี เปิดงานแทนนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย และเปิดงานในฐานะเป็นประธานเปิดงานด้วย โดยมีบัญฑิตวิทยาธรณะสุกลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงผลิตอาวุธในคณะรัฐบาลกลางของ อินเดียซึ่งเป็นประธานกรรมการจัดงานฉลองครบรอบ ๔๐๐ ปี หนังสือรามจริตมานัสของท่าน ตุลสีทาส ได้มาร่วมงาน และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ตึกที่ทำการสมาคมฮินดูธรรมสภาด้วย
Page 66
182 หลังจากที่ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินทร์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม ทางสมาคมได้ พิจารณา และลงมติว่า อาคารตึกที่ทำการสมาคมฮินดูธรรมสภานี้จักอุทิศกุศลผลบุญให้แก่ วิญญาณและเพื่อเป็นที่ระลึกแด่ ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินทร์ จึงได้ขนานนามอาคารนี้ ว่า “Dr. Sukiche Memorial Bhavan” ศาสนสถานที่สำคัญ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนปั้น แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ราวปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีพราหมณ์ชาวภารตจากอุตตรประเทศ (อินเดียเผ่าทมิฬ) เดินทางมาสู่ประเทศไทย ขึ้นบกทางจังหวัดภาคใต้ และมีกลุ่มหนึ่งได้เดินทาง ขึ้นสู่เมืองหลวงเริ่มประกอบกิจการค้าและหาเลี้ยงชีพตามความรู้ของตน ต่อมาได้จัดสร้างวัด พระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขก) ขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ภายในเทวาลัย ประดิษฐานเทวรูป ต่าง ๆ อาทิ ๑. พระพิฆเนศวร เรียกกันโดยย่อว่าพระพิฆเนศ มีศีรษะเป็นช้าง ได้รับการยกย่องว่า เป็นจอมเทพผู้มีปัญญาเลิศ ไม่ว่าจะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องบูชาพระพิฆเนศก่อนเพื่อขอพร และเป็นการคารวะในฐานะพระบรมครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ความสำเร็จแห่งกิจการ งานทั้งปวง ๒. เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี มีกายปรากฏ ๓ รูปคือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีความสุขุม เมตตา รูป หนึ่งเป็นผู้มีความเก่งกล้าในการรณรงค์สงคราม และปราบปรามเหล่าศัตรูได้ทั่วทิศ รูปหนึ่ง เป็นผู้มีความเหี้ยม ดุร้าย เมื่อยามพิโรธในยามวิกาล ๓. พระขันธกุมาร ชาวบ้านเรียกกันว่า“พระนกยูง” พระองค์ทรงเป็นนักรบผู้เกรียงไกรชอบ แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ มีผู้นิยมบูชาเพื่อขอพลังแห่งจิต และความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน ๔. พระกฤษณะ มีพระปรีชาชาญในการเจรจาพาที นิยมขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล ๕. หลวงพ่อพระพุทธศรีชินราช บ้างเรียกกันว่า “หลวงพ่อชินราชวัดแขก” วัดวิษณุ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อศาสนิกชนชาวอินเดียทมิฬในประเทศไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น และสถานที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) ซึ่งเป็นที่ประกอบศาสนกิจต่าง ๆ ไม่สามารถ ขยายออกตามจำนวนศาสนิกชนได้ ชาวอินเดียทมิฬจึงได้เรี่ยไรเงินจัดซื้อที่ดินเลขที่ ๕๐ ซอย วัดปรก แขวงทุ่งวัดดอนเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร และได้สร้างเทพาลัยวัดวิษณุขึ้นในที่ เดียวกันกับที่ตั้งสมาคมฮินดูธรรมสภา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ภายในประดิษฐานเทวรูปต่าง ๆ เพื่อ บูชาสักการะ อาทิ พระราม พระศิวลิงค์ พระนารายณ์ พระพิฆเนศวร พระกฤษณะ พระหนุมาน พระคเณศ
Page 67
183 การบริหารงาน สมาคมฮินดูธรรมสภา จัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ ดังนี้ ๑. เผยแพร่และส่งเสริมศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒. สร้างและส่งเสริมมิตรภาพกับศาสนาอื่น ๆ ๓. ร่วมมือกับกรมการศาสนา และปฏิบัติตามนโยบายและโครงการของรัฐบาลไทย สมาคมฮินดูธรรมสภา มีนายกสมาคมฮินดูธรรมสภา เป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริหาร งานรับผิดชอบการดำเนินงานของสมาคม มีผู้เผยแพร่ศาสนา จำนวน ๑๑ คน การติดต่อประสานงาน สามารถติดต่อได้ ดังนี้ ที่อยู่ สมาคมฮินดูธรรมสภา เลขที่ ๕๐ ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กรุงเทพฯ ๑๐๑๒๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๑ ๓๘๔๐ โทรสาร ๐ ๒๖๓๓ ๘๔๕๔
Page 68
184 ความเป็นมาของสมาคมฮินดูสมาช ศาสนิกชนชาวปัญจาบ แบ่งออกเป็นสองพวกคือ ซิกข์ และพราหมณ์ฮินดู ได้เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้ใช้สถานที่ร่วมกันในการปฎิบัติศาสนกิจ ที่บ้าน บริเวณหลังวังบูรพา ต่อมาเมื่อมีจำนวนคนมากขึ้นจึงแยกกัน โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ในวัน เทศกาลวิชัยทศมี อันเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนิกชนฮินดูได้พร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมขึ้น สมาคมหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า “ฮินดูสภา” สมาคมนี้ตั้งอยู่ณ อาคารเล็ก ๆ แห่งหนึ่งใน บริเวณหลังวังบูรพา ประธานคนแรกคือ นายลาลา ชคัตราม ปาวา ต่อมาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ก็ได้เปลี่ยนมาเป็น “ฮินดูสมาช” และย้ายมาอยู่อาคารสามชั้น เลขที่ ๑๓๖/๑-๒ ถนนศิริพงษ์ เสาชิงช้า แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ศาสนสถานที่สำคัญ เทพมณเฑียร เมื่อศาสนิกชนฮินดูในประเทศไทยได้ก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของสมาคมสิ้นสุดลง แล้ว ได้มีความพยายามที่จะสร้าง “เทพมณเฑียร” โดยมีความคิดว่าสร้างให้ใหญ่โตและงดงาม สมเกียรติ จึงได้เปิดบัญชีรับบริจาคเงินจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปมีการเรี่ยไรและรวบรวมเงินซึ่ง ได้รับความร่วมมือร่วมใจเป็นอย่างดีจากพี่น้องชาวอินเดียที่อยู่ในพระนครและในส่วนภูมิภาค หรือแม้ที่อยู่ในต่างประเทศก็ตาม และก่อสร้างได้แล้วเสร็จ เมื่อมีเทพมณเฑียรแล้วได้อัญเชิญ พุทธปฏิมา และเทวปฏิมาที่ชาวฮินดูทั่วไปสักการะจากประเทศอินเดียมาประดิษฐานไว้ภายใน เทพมณเฑียรแห่งนี้ อาทิ พระนารายณ์ และพระแม่ลักษมี พระรามและภควดีสีดา พระ กฤษณะ และพระนางราธา พระพุทธเจ้าอวตารปางที่ ๙ แห่งพระวิษณุ พระศิวะ พระแม่ทุรคา พระพิฆเนศวร พระหนุมาน พระแม่สตีหรือราณีสตีเทวี ๓. สมาคมฮินดูสมาช
Page 69
185 งานเทศกาล ในบรรดางานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ของสังคมฮินดู มีอยู่สองงานซึ่งนับว่าเป็นที่ นิยมแพร่หลายอย่างกว้างขวางที่สุด ได้แก่ “วิชัย ทศมี” และงาน “ชนมาษฏมี” ประชาชนเฉลิม ฉลอง“วิชัย ทศมี” เพราะถือกันว่า เป็นวันที่พระรามรบศึกชนะทศกัณฐ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็ คือ เป็นวันที่ธรรมะชนะอธรรม เพราะเชื่อกันว่า พระรามเป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ ในทำนอง เดียวกับที่เชื่อว่าทศกัณฐ์เป็นสัญลักษณ์ของอธรรม ส่วน “ชนมาษฏมี” เป็นวันเกิดของพระ กฤษณะซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ประชาชนเคารพบูชากันทั่วประเทศอินเดีย งานเทศกาล หรืองาน นักขัตฤกษ์ของทั้งสองวาระนี้ ศาสนิกชนฮินดููได้ให้ความสำคัญและจัดเฉลิมฉลองอย่าง ครึกครื้นทุกปี การบริหารงาน นายกสมาคมฮินดูสมาชเป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริหารสมาคม รับผิดชอบการ ดำเนินงานของสมาคม มีผู้เผยแพร่ศาสนา จำนวน ๙ คน คณะกรรมการบริหารได้แบ่งการ บริหารงานเป็น ๖ หน่วย ๑. ฝ่ายเทพมณเฑียร มีหน้าที่เผยแพร่ศาสนา จัดให้มีการบูชากราบไหว้ พิธีบูชายัญ อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาศึกษาหาความรู้จากเทพมณเฑียร ๒. ฝ่ายวัฒนธรรมและศิลปะ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือในกิจการด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยว กับศาสนาฮินดู จัดหานักแสดงปาฐกถา นักเผยแพร่วัฒนธรรมจากประเทศอินเดียมาแสดงใน ประเทศไทย จัดการแสดงละครที่มีเนื้อหาสาระทางศาสนา นาฏศิลป์ ดนตรีให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือแก่นักศึกษาไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศอินเดีย จัดพิมพ์หนังสือ หรือเอกสาร เกี่ยวกับสมาคม ตลอดจนบทความที่เป็นประโยชน์แก่ความสัมพันธ์ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย ๓. ฝ่ายการศึกษาและโรงเรียนได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ มีชื่อว่าโรงเรียน “บาตรวิทยาลัย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ภารตวิทยาลัย” ๔. ฝ่ายกองทุนสงเคราะห์จัดให้เงินช่วยเหลือแก่บรรดาสมาชิกของสมาคม ๕. ฝ่ายกิจกรรมของสมาคม ให้ความร่วมมือในกิจการด้านส่งเสริมภราดรภาพแก่ สมาชิก ๖. ฝ่ายบรรเทาสาธารณภัยให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์สมาชิกผู้ประสบภัย
Page 70
186 โดยหลักใหญ่ กิจการของสมาคมฮินดูสมาชจะยึดมั่นอยู่กับคำสอนของศาสนา พราหมณ์-ฮินดู และกิจกรรมที่สำคัญประการหนึ่งของสมาคมซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันในตอนต้น ๆ คือ นัดชุมนุมกันในเวลากลางคืนของทุกวันจันทร์ นอกจากสวดมนต์ และขับร้องเพลงถวาย พระเป็นเจ้าแล้ว ก็มีการอ่าน และบรรยายความหมายของคำสอนในคัมภีร์ภควัทคีตา บางครั้ง ก็มีการอ่านบทความอันว่าด้วยเรื่องราวทางศาสนา หรือวัฒนธรรม นอกจากนี้ หากมีอาคันตุกะ ผู้ทรงวิทยาคุณเดินทางจากประเทศอินเดียมาถึงทางสมาคมก็เชื้อเชิญให้มาแสดงปาฐกถาให้ที่ ชุมนุมฟัง พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย กิจการของสมาคมได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จนต้องเพิ่มอาคารที่ทำการให้กว้างขวาง ออกไปอีกถึง ๓ คูหาซึ่งอยู่ติด ๆ กัน และได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ มีชื่อว่า โรงเรียนภารตวิทยาลัย สอนภาษาฮินดูและภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนอินเดียเป็นพิเศษ ในเวลากลางคืน นอกจากนี้สมาคมได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลและประชาชนไทยในการดำเนินกิจกรรม สาธารณประโยชน์ อาทิได้จัดงานแสดงวิวัฒนาการทางศาสนาร่วมกับกรมการศาสนา เป็นต้น การติดต่อประสานงาน สามารถติดต่อได้ ดังนี้ ที่อยู่สมาคมฮินดูสมาช เลขที่ ๑๓๖/๑-๒ ถนนศิริพงษ์ เสาชิงช้า แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๑ ๔๓๖๐ โทรสาร ๐ ๒๒๒๑ ๔๓๖๐
Page 71
๕ ศาสนาซิกข์
Page 72
188 คุรุดวารา พาหุรัด กรุงเทพมหานคร
Page 73
189 ความเป็นมา กลุ่มชนที่นับถือศาสนาซิกข์ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย และมีความใกล้ชิดกับชาว ไทยมานานสมควร ศาสนิกชนที่นับถือศาสนาซิกข์ จะเรียกว่า “ชาวซิกข์” หรือ “สิกข์” ตาม ภาษาไทย “สิกข์” เป็นศัพท์ภาษาบาลี คือ สิกขา ซึ่งตรงกับคำว่า “ศึกษา” ความหมายก็คือผู้ที่ นับถือศาสนาซิกข์จะทำตนเป็นศิษย์ที่ดีโดยศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน และปฏิบัติตามหลักของ ศาสโนวาทของพระศาสดาเสมือนศิษย์ทำตามคำสั่งสอนของครู ในประเทศไทยแต่เดิมผู้ที่นับถือศาสนาซิกข์จะเป็นชาวอินเดียที่มาจากแคว้นปัญจาบ ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียติดกับรัฐแคชเมียร์ และ ประเทศอัฟริกานิสถาน ปัญจาบเป็นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศอินเดีย ภาษาที่ชาว ซิกข์ใช้พูดเป็นภาษาปัญจาบี แต่ชาวไทยซิกข์รุ่นใหม่จะถนัดในการใช้ภาษาไทยมากกว่าในอดีต ชาวซิกข์คนแรกที่เดินทางมาประเทศไทยมีอาชีพเป็นพ่อค้า ค้าขายสินค้าต่าง ๆ มี นามว่า นายกิรปาราม มาดาน เป็นพ่อค้าที่เดินทางมาค้าขายไปมาระหว่างประเทศ ในประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ท่านได้เดินทางไปประเทศอัฟริกานิสถานเพื่อหาสินค้าที่พอจะนำมาขายได้ เมื่อ หาสินค้าได้แล้วก็เดินทางกลับประเทศบ้านเกิด สินค้าที่ซื้อมาครั้งนั้นมีม้าพันธุ์ดีรวมอยู่ด้วย หลายตัว เมื่อจัดการขายสินค้าหมดแล้วก็เดินทางไปใหม่ คราวนี้ได้แวะผ่านมาที่ประเทศสยาม โดยได้นำม้าพันธุ์ดีเหล่านั้นมาด้วย ได้มาพำนักอาศัยอยู่ในพระบรมโพธิสมภารของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับความอบอุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง ภายหลังได้มี โอกาสเข้าเฝ้า จึงได้ทำการกราบบังคมทูลเกล้าถวายอาชาตัวโปรดนั้นแก่พระองค์ ด้วยสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ ในโอกาสที่ได้มาอาศัยอยู่ในพระบรมโพธิสมภารด้วยความสุขร่มเย็น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นในความจงรักภักดีของ นายกิรปาราม ชาวซิกข์ผู้นี้ยิ่งนัก พระองค์จึงประทานช้างให้ ๑ เชือก ตลอดจนข้าวของเครื่อง ใช้ที่จำเป็นในระหว่างเดินทางกลับเป็นการตอบแทนน้ำใจ พ่อค้าชาวซิกข์เมื่อถวายอาชาแล้ว แต่ กลับได้รับช้างและข้าวของแพรพรรณก็รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม กราบถวายบังคมทูลลากลับ แคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดียอีกวาระหนึ่ง ท่านกิรปาราม มาดาน คิดรำพึงถึงของขวัญที่ได้รับ พระราชทานมาว่า สูงเกินค่ามากยิ่ง ควรจะเก็บรักษาหรือนำไปใช้เป็นประโยชน์ให้สมพระ เกียรติแห่งพระเจ้ากรุงสยาม จึงตัดสินใจนำพลายเชือกนั้นไปถวายให้แก่พระราชาแห่งแคว้น แคชเมียร์และยัมมู พร้อมทั้งเล่าเรื่องที่ตนเดินทางไปค้าขายที่ประเทศสยามให้ฟังทุกประการ ศาสนาซิกข์
Page 74
190 ว่าได้รับความสุขสบายจากพี่น้องประชาชนชาวสยาม มีพระเจ้าแผ่นดินปกครองด้วยทศพิธราช ธรรม จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของประชาชน ประชาชนได้ขนานนามพระองค์ว่า ปิยมหาราช พระราชาแห่งแคว้นแคชเมียร์และยัมมูทรงพอพระทัยยิ่ง ทรงรับช้างดังกล่าวที่ได้รับ พระราชทานจากพระเจ้ากรุงสยาม ขึ้นระวางเป็นราชพาหนะต่อไป พร้อมทั้งมอบแก้วแหวนเงิน ทองให้นายกิรปาราม มาดาน เป็นรางวัล ชาวซิกข์ผู้นี้พอถวายช้างแล้ว ก็รีบเดินทางกลับบ้าน เกิด ณ แคว้นปัญจาบอีกครั้ง แต่คราวนี้ท่านรวบรวมเงินทอง พร้อมทั้งชักชวนเพื่อนพ้องให้ไป ตั้งหลักฐานอาศัยอยู่ในพระบรมโพธิสมภารตลอดไป ไม่ช้าไม่นานผู้คนชาวซิกข์ที่ท่านชวนมาก็ ทยอยกันมาเรื่อยๆ หลังจากที่ชาวซิกข์ได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพเป็นจำนวนมากขึ้น จึงนำไปสู่การมีศาสน สถานแห่งแรกของชาวซิกข์ในกรุงเทพ โดยตั้งอยู่บริเวณถนนบ้านหม้อ เหตุที่ชาวซิกข์ต้องมี ศาสนสถานขึ้นเพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนานั้น เนื่องจากว่าในสังคมของชาวซิกข์ คำสอน ทางศาสนามุ่งเน้นถึงความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือกันภายในชุมชน นอกจากนั้นใน ศาสนวินัยของซิกข์ยังระบุว่าในที่ใดซึ่งมีชาวซิกข์มากกว่าสองครอบครัวมาอยู่ร่วมกัน ที่นั้นควร มีสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน แต่ศาสนสถานของชาวซิกข์ไม่มีความจำเป็น ต้องก่อสร้างในรูปลักษณะที่เป็นศาสนสถานถาวร ถ้ายังไม่มีปัจจัยที่จะก่อสร้าง ชาวซิกข์ สามารถใช้สถานที่ใดๆก็ได้เป็นศาสนสถาน แต่บริเวณนั้นต้องสะอาดและมีที่ประดิษฐานพระ มหาคัมภีร์ศรีคุรุครันถ์ซาฮิบที่สมพระเกียรติ ซึ่งเป็นพระศาสดานิรันดร์กาลของซิกข์ โดยที่ ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์จะสร้างเป็นบัลลังก์หรือยกพื้นสูงกว่าบริเวณที่นั่งชุมนุมเจริญธรรม โดยรอบเหนือแท่นต้องมีผ้าคล้ายฉัตรดาดอยู่เบื้องบน บริเวณใดที่มีพระมหาคัมภีร์ศรีคุรุครันถ์ ซาฮิบทรงประทับอยู่ บริเวณนั้นถือได้ว่าเป็นศาสนสถานของชาวซิกข์ มีหลักฐานปรากฏจากเรื่องราวที่ได้มีการทำบันทึกถึงศาสนสถานแห่งแรกไว้ว่า เมื่อ ชาวซิกข์เข้ามาอยู่มากขึ้น ศาสนสถานแห่งแรกจึงถูกกำหนดขึ้น กล่าวคือ ศาสนิกชนชาวซิกข์ได้ เช่าบ้านเรือนไม้ ๑ คูหา ที่บริเวณบ้านหม้อในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยขอเช่าจากเจ้าของบ้านด้วยค่า เช่าเพียงเล็กน้อย จากนั้นก็ได้ตกแต่งให้เหมาะสม และสามารถดำเนินศาสนกิจได้ในไม่ช้า แต่ เนื่องจากยังไม่มีความสะดวกในการประกอบศาสนกิจอย่างเต็มที่ทุกวันตามที่ต้องการ ศาสนิกชนจึงประกอบศาสนกิจกันเองอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง ต่อมาเมื่อสังคมซิกข์เติบโตขึ้น ศาสนิกชนก็ได้ย้ายจากที่เดิมมาเช่าบ้านหลังใหญ่กว่า เดิมและทำสัญญาเช่าระยะยาวกว่าเดิม ณ หัวมุมถนนพาหุรัดและถนนจักรเพชรปัจจุบัน หลัง จากตกแต่งแก้ไขจนสามารถประกอบศาสนกิจได้แล้ว ก็พร้อมใจกันอัญเชิญพระมหาคัมภีร์ศรี คุรุครันถ์ซาฮิบมาประดิษฐานและเจริญธรรมศาสนกิจเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นต้นมาเป็นเวลาหลายปี
Page 75
191 ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ชาวซิกข์ได้รวบรวมเงินเพื่อซื้อที่ดินผืนหนึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ ด้วยเงินจำนวน ๑๖,๒๐๐ บาท และออกแบบแปลนก่อสร้างเป็นตึกสามชั้นครึ่ง ด้วยจำนวนเงิน อีกประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาท เป็นศาสนสถานถาวร ใช้ชื่อว่า “ศาสนสถานสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา” ต่อมาได้เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ทางพันธมิตรได้พยายามทิ้งระเบิดเพื่อ ทำลายโรงไฟฟ้าวัดเลียบ และบางส่วนของสะพานพุทธยอดฟ้า เนื่องจากศาสนสถานคุรุดวารา แห่งนี้อยู่ใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าในสมัยนั้น ทำให้กองทัพอากาศของพันธมิตรทิ้งระเบิดขนาด ๑,๐๐๐ ปอนด์พลาดมาตกกลางตัวตึกถึง ๒ ลูก ด้วยน้ำหนักของลูกระเบิดเจาะเพดานดาดฟ้า ลงมาถึงชั้นล่าง ๒ ชั้น ด้วยพระบารมีขององค์พระศาสดาศรีคุรุครันถ์ซาฮิบที่ทรงประทับเป็น ศูนย์จิตใจของชาวซิกข์ที่มาหลบซ่อนอยู่ในตัวอาคารศาสนสถานนับพันคนขณะนั้น ปรากฏว่า ระเบิดที่มีพลังทำลายล้างมหาศาลนั้น เป็นระเบิดด้านทั้งสองลูก ท่ามกลางความประหลาดใจ ของศาสนิกชน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ทางทหารได้มากู้ระเบิดกลับไป แต่แรงสั่นสะเทือนของลูกระเบิด จำนวนหนึ่งที่ทำลายบ้านเรือนราษฎรในบริเวณหลังโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ทำให้ตัวตึกร้าวเสียหาย ไปบางส่วน ไม่สามารถประกอบศาสนกิจเจริญธรรมได้ จึงได้หยุดการประกอบศาสนกิจ ชั่วคราว แล้วย้ายไปสร้างเป็นโรงเรือนไม้หลังคาสังกะสีเป็นการชั่วคราว ณ บริเวณโรงเรียน ซิกข์วิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้ก่อสร้างแต่อย่างใด หลังจากได้ปฏิสังขรณ์มาระยะเวลาหนึ่ง ศาสนสถานคุรุดวาราก็คืนสภาพดีดังเดิม และศาสนิกชนใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจมาจวบ จนปี พ.ศ. ๒๕๒๔
Page 76
192 การตั้งหลักแหล่งของชาวซิกข์มักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกันเป็นกลุ่ม ดังจะเห็นได้ จากการรวมกลุ่มกันบริเวณบ้านหม้อในระยะแรก และต่อมาเมื่อมีการสร้างคุรุดวาราในบริเวณ ถนนพาหุรัดและถนนจักรเพชร ทำให้ชุมชนซิกข์เคลื่อนย้ายมาอยู่รอบบริเวณคุรุดวารามากขึ้น แทน ต่อมาเมื่อสมาชิกของชุมชนชาวซิกข์เพิ่มขึ้นมากมาย จนสถานที่ในศาสนสถานเก่าไม่ สามารถรองรับเหล่าศาสนิกชนได้ ทางสมาคมศรีคุรุสิงห์สภาจึงได้มีมติให้ดำเนินการก่อสร้าง ศาสนสถานใหม่บนพื้นที่เดิมที่มีขนาดประมาณ ๓๖๐ ตารางวา และย้ายโรงเรียนซิกข์วิทยาลัย ซึ่งเดิมอยู่ในบริเวณเดียวกัน ตรงข้ามกับคุรุดวารา ไปที่สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ แล้ว ลงมือสร้างโรงเรียนแห่งใหม่บนพื้นที่ ๗ ไร่ ๒ งาน มีจำนวนห้องเรียน ๔๐ ห้อง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ปัจจุบันมีนักเรียนเข้าเรียนประมาณ ๗๐๐ คน เป็นลูกหลานชาวทหารเรือและ ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงนั้น มีการมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ไร้ทุนทรัพย์ทุก ปีการศึกษาจำนวนมาก ได้รับเกียรติเป็นโรงเรียนดีเด่นประจำจังหวัดสมุทรปราการหลายปี ในช่วงเวลาห้าสิบปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ชาวซิกข์และศาสนสถาน คุรุดวาราแห่งนี้ได้รับเกียรติและมีโอกาสได้ต้อนรับบุคคลสำคัญทั้งจากต่างประเทศและใน ประเทศมากมาย อีกทั้งได้ร่วมในการจัดงานเฉลิมฉลองต่างๆ งานที่สมควรจะนำมากล่าวคือ งานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของพระปฐมบรมศาสดาศรีคุรุนานักเดว ครบ ๕๐๐ ปี ซึ่งได้ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒ ณ โรงละครแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน ในพิธี รวมทั้งตัวแทนองค์การศาสนาต่างๆทุกศาสนาในประเทศไทยได้ให้เกียรติมาร่วมในงาน ฉลองครั้งนี้
Page 77
193 กรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, คณะ. การปฏิรูป การศึกษาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาส ที่วันพระราชสมภพครบ ๑๕๐ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ ; กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๗. การศาสนา, กรม. กฐินพระราชทาน กรมการศาสนา พุทธศักราช ๒๕๑๖, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๖. การศาสนา, กรม. กฐินพระราชทาน กรมการศาสนา พุทธศักราช ๒๕๑๘, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๘. การศาสนา, กรม. ใบลาน ฉบับพิเศษ ครบรอบ ๖๐ ปีกรมการศาสนา, กรุงเทพฯ : โรงพิพม์การศาสนา, ๒๕๔๔. การศาสนา, กรม. ประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์๒๐๐ ปีภาค ๒, โรงพิมพ์การศาสนา, พ.ศ. ๒๕๒๕. การศาสนา, กรม. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับงานพระพุทธศาสนา, กรมการศาสนา กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.), ๒๕๔๘. .วันศาสนูปถัมภ์ครั้งที่๓๗, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๔. .ศาสนาอิสลามในประเทศไทย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๕. .เอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับองค์การศาสนาต่าง ๆ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. ข่าวกรองแห่งชาติ, สำนัก. ทศพิธราชธรรม, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๐. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. ๙ แผ่นดินของการปฏิรูประบบราชการ, กรุงเทพฯ : บริษัท วิชั่น แอนด์มีเดีย จำกัด, ๒๕๕๐. จดหมายเหตุรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๑๗. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ใต้ร่มพระบารมีพระบรมธรรมิกมหาราชา เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐. ที่ระลึกพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ร่มธรรม, ๒๕๕๐. ธำรงศักดิ์อายุวัฒนะ, นาย. ประวัติกรมการศาสนา และการพระศาสนาในประเทศไทย ที่ระลึกในงาน พระกฐินพระราชทาน, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๖. ประชุมประกาศตราประจำตำแหน่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๖. ปัญญา ปญฺญาวุฑฺโฒ, พระมหา, ผศ. พระอัจฉริยภาพ รัชกาลที่๔ ที่ระลึกในวโรกาส แห่งวันราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี, กรุงเทพฯ : หจก.จงเจริญการพิมพ์, ๒๕๔๗. พระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระปิยมหาราชที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ, กรุงเทพฯ : กองโรงพิมพ์ กรมสารบรรณทหารเรือ, ๒๕๔๗. บรรณานุกรม
Page 78
194 พระธรรมทูตไปต่างประเทศ รุ่นที่๑๔, สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธ) มหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร, หจก. ยูไนเต็ด โปรดักชั่น เพรส จก. : สมุทรสาคร ๒๕๕๐. พระราชกรณียกิจ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ในการทรงอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทย จัดพิมพ์ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ การศาสนา,๒๕๒๙. มานพ รักการเรียน, ผศ. พระอัจฉริยภาพ รัชกาลที่๔ ที่ระลึกในวโรกาสแห่งวันพระราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี, กรุงเทพฯ : หจก. จงเจริญการพิมพ์, ๒๕๔๗. รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่๔, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๘. วุฒิชัย มูลศิลป์และคณะ, พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์, อัลฟ่า มิเล็นเนียม. วัฒนธรรม, กระทรวง. พระอัจริยภาพด้านอักษรศาสตร์ของพระมหากษัตริย์ไทย, กรุงเทพฯ : ๒๕๕๑. ศิลปากร, กรม. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาส ที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๑๕๐ ปี, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๗. ศิลปากร, กรม. นามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดประเพณีราษฎร์เล่ม ๒, กรุงเทพฯ : บริษัท แอดวานซ์ วิชั่น เซอร์วิส จำกัด, ๒๕๕๐. ศิลปากร, กรม. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศโฆษาธิบดี, กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘. ศิลปากร, กรม. บรรณานุกรมและสาระสังเขปพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์(๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๔๘. ศิลปากร, กรม. สมเด็จพระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดพิพิธภัณฑสถานเพื่อประชา, กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์จำกัด (๑๙๗๗), ๒๕๔๗. ศิลปากร, กรม. ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง, กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์(๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๔๗ หนังสือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น แปลและบทสวดมนต์พิเศษ วัดอินทารามวรวิหาร, พิมพ์ครั้งที่๔ ฉบับพิเศษ (คู่มือส่งเสริมเพื่อการปฏิบัติธรรม ถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๖). อนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในคณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติสำนักนายกรัฐมนตรี, คณะ. พลังแห่งแผ่นดิน นวมินทรมหาราชา, กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘. อนุสรณ์๓๐ ปีสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย. ๙๒ ปีกระทรวงศึกษาธิการ ๑ เมษายน ๒๕๒๗, หนังสือที่ระลึก.